ทศบารมีที่พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญ
๑. ทานบารมี “ทาน” คือการให้ปัน ทรงบริจาคทรัพย์ ช้าง ม้า ราชรถ พระกุมารทั้งสอง และพระ มเหสี รวมเรียกว่า “ปัญจมหาบริจาค”
๒. ศีลบารมี “ศีล” คือความประพฤติดี ละเว้นความชั่ว ทรงรักษาศีลอย่างเคร่งครัดระหว่างผนวชอยู่ ณ เขาวงกต
๓. เนกขัมมบารมี “เนกชัมมะ” คือการออกบวช ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่หมกมุ่นในกามคุณ ทรงครองเพศบรรพชิตตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขาวงกต
๔. ปัญญาบารมี “ปัญญาคือการฝึกให้รอบรู้ในสิ่งที่เป็นคุณและโทษ ประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ ตลอดจนจนการแก้ปัญหาด้วยวิธีแห่งเหตุผล ความเฉลียวฉลาด ทรงบำเพ็ญภาวนามัยปัญญาตลอดเวลาที่ประทับ ณ เขวงกต
๕. วิริยบารมี “วิริยะ” คือความเพียร การก้าวไปข้างหน้าไม่ท้อถอยในการระงับบาปทุจริต เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ละเสีย และพยายามบำเพ็ญเพียรในทางที่ดี ทรงปฏิบัติธรรมมิได้ย่อหย่อน
๖. สัจจบารมี “สัจจะ”คอการักษาวาจาสัตย์ ความตั้งใจมั่นต่อการปฏิบัติ มุ่งแสวงหาความจริง อันได้แก่ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ทำได้จริง ทรงลั่นวาจาจะยกสองกุมารให้ชูชก เมื่อพระกุมารหลบหนีก็ทรงติดตามให้
๗. ขันติบารี “ขันติ” คือความอดทนอดกลั้นต่อความยากลำบากตรากตรำ ความหิวกระหาย อดทนต่อภยันตราย ทุกขเวทนาต่าง ๆ แม้กระทั่งคำล่วงเกิน ทรงอดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ขณะที่เดินทางมายังเขาวงกต และตลอดเวลาที่ประทับ ณ ที่นั้น แม้เมื่อทอดพระเนตรเห็นชูชกเฆี่ยนตีสองกุมาร พระองค์ก็ข่มพระทัยได้
๘. เมตตาบารมี “เมตตา” คือ ความสงสารต่อสัตว์ มีจิตใจเผื่อแผ่ปรารถนาความสุขแก่คนทั่วไป เมื่อพราหมณ์เมืองกลิงคราษฎร์มาทูลขอช้างปัจจัยนาคเพราะเมืองนั้นฝนแล้ง ก็ทรงพระเมตตาประทานให้ และเมื่อชูชกทูลขอสองกุมารโดยอ้างว่าตนได้รับความยากลำบากต่าง ๆ พระองค์ก็มีพระเมตตาประทานให้ด้วย
๙. อุเบกขาบารมี “อุเบกขา” คือการวางเฉย รักษาจิตใจให้คงที่ ไม่ยินดียินร้ายเมื่อมีอารมณ์ต่าง ๆ มากระทบ ทรงวางเฉยเมื่อสองกุมารซึ่งถูกชูชกเฆี่ยนตีวิงวอนขอความช่วยเหลือ เพราะว่าทรงเห็นว่าได้ประทานสองกุมารเป็นสิทธ์ขาดแก่ชูชกไปแล้ว
๑๐. อธิษฐานบารมี “อธิษฐาน” คือความตั้งใจมั่นอยู่ในความดี แล้วตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จด้วยดี ถ้ายังไม่สำเร็จก็จะไม่เลิกเสีย ทรงตั้งพระทัยมั่นที่จะบำเพ็ญบารมีเพื่อสำเร็จพระโพธิญาณเบื้องหน้า แม้จะมีอุปสรรคก็มิได้ย่อท้อ จนพระอินทร์ต้องปะทานความช่วยเหลือต่าง ๆ เพราะตระหนักในน้ำพระทัยอันแน่วแน่ของพระองค์