วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2557

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 7



แถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 7 "ในหลวง" อุณหภูมิพระวรกายเป็นปรกติ คณะแพทย์ ฯ ได้ตัดไหมแผลผ่าตัดและหยุดถวายพระโอสถปฏิชีวนะทางหลอดพระโลหิต หยุดถวายสารอาหารเสริมทางหลอดพระโลหิตตั้งแต่เมื่อวานนี้
แถลงการณ์สำนักพระราชวัง
เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราช ฉบับที่ 7
วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รายงานว่า อุณหภูมิพระวรกายเป็นปรกติ พระชีพจร การหายพระทัย ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปรกติ บรรทมได้ดี คณะแพทย์ ฯ ได้ตัดไหมแผลผ่าตัดและหยุดถวายพระโอสถปฏิชีวนะทางหลอดพระโลหิต เมื่อสองวันที่แล้ว อีกทั้งพิจารณาเห็นว่าสภาวะทางโภชนาการดีขึ้นแล้ว จึงได้หยุดถวายสารอาหารเสริมทางหลอดพระโลหิตตั้งแต่เมื่อวานนี้ แต่เนื่องจากระบบการย่อยพระกระยาหารยังไม่เป็นปรกติ จึงต้องถวายพระกระยาหารที่ย่อยง่ายสักระยะหนึ่ง
การถวายตรวจรอยแผลผ่าตัดในวันนี้ปรากฎผลเป็นที่พอใจของคณะแพทย์ ฯ
จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
สำนักพระราชวัง
17 ตุลาคม พุทธศักราช 2557

๑๖ต.ค.๕๗ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเข้าวัดทุกวันพระ ปีที่๓

วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ 
เป็นวันแรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะเมีย

ทางวัดวีระโชติธรรมาราม โดยพระครูภาวนาวีรคุณ(หลวงพ่อองอาจ) เจ้าอาวาส เจ้าสำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ ๒๘ ได้ริเริ่มโครงการ ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เข้าวัดทุกวันพระ โดยจัดให้มีการทำบุญทุกวันพระ ไม่ว่าจะเป็น ๘ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ ตลอดระยะเวลามาถึงปีนี้ เป็นปีที่ ๓ แล้ว ซึ่งทางวัดจะจัดเตรียมอาหารไว้ให้จำนวน ๓ รายการ นอกนั้นญาติโยมจะนำมาเอง โดยมีกำหนดการดังนี้
เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพล

หมายเหตุ การจัดภัตตาหารเพลนั้น ทางวัดจะจัดไว้ที่โต๊ะที่ทางวัดจัดไว้ให้ โดยญาติโยมที่นำอาหารมา จะไปวางรวมกันและประเคน พระสงฆ์ทั้งหลาย ก็จะเดินไปอาหารของญาติโยมใส่บาตร เพื่อนำมาฉันที่อาสงส์ของตนเองและในทั้งนี้ 

หลวงพ่อเจ้าอาวาสได้เปิดโอกาสให้ญาติโยมผู้ที่จะร่วมทำบุญเนื่องในวันพระ 
ตามรายการนี้
๑.ธนาคารกสิกรไทย สุวินทวงศ์ ฉะเชิงเทรา
กองทุนค่าน้ำ - ค่าไฟวัด เลขที่ 409-2-41136-8
๒.ธนาคารไทยพานิชย์ สุวินทวงศ์ ฉะเชิงเทรา
กองทุนพระอาพาธ เลขที่ 405-351449-2
๓.ธนาคารกรุงเทพ สุวินทวงศ์ ฉะเชิงเทรา
กองทุนนางวิสาขา(อาหารพระ-เณร) เลขที่ 386-8-00605-1

โอนแล้วแจ้ง sms ที่เบอร์ ๐๘๗ ๙๒๒ ๔๘๘๘

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

๑๕ต.ค.๕๗พระครูภาวนาวีรคุณร่วมทอดกฐินสามัคคี อ.อุ้มผาง

อนุโมทนาร่วมกันครับ วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ พระครูภาวนาวีรคุณ(หลวงพ่อองอาจ) เจ้าอาวาส เจ้าสำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ ๒๘ วัดวีระโชติธรรมาราม เมือง ฉะเชิงเทรา ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีกับพระครูอนุกูลวรการ วัดดอนแก้ว (อ.แม่สอด) เจ้าคณะอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เป็นจำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมผ้าสบงอีก ๑๐ ผืน โดยให้ท่าน ดร.สมศักดิ์ สายหยุด รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร ฉะเชิงเทรา เป็นผู้นำไปถวายแทน สาธุ อนุโมทามิ มา ณ ที่นี้

วันนี้เป็นวันพระแรก แห่งฤดูกาลออกพรรษาและเป็นอาทิตย์แรกแห่งฤดูกาลทอดกฐิน วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นวันแรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะเมีย


วันนี้เป็นวันพระแรก แห่งฤดูกาลออกพรรษาและเป็นอาทิตย์แรกแห่งฤดูกาลทอดกฐิน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
เป็นวันแรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะเมีย
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี
หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น
ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ
นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้
การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญ
การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญต้องเตรียมความพร้อม องค์ประกอบ ๓ ประการคือ
๑.การเตรียมกาย
ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวเรียบ หรือสีที่ ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจน อึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิว กระหายจะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหาร ที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น
๒.การเตรียมใจ
ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่อง ครอบครัวเรื่องการงานเป็นต้น
๓.การเตรียมสิ่งของ
ให้จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อาหาร หวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไป ถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา
ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม
การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญของแต่ละวัด อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักปฏิบัติโดยส่วนใหญ่แล้วทุกวัดจะปฏิบัติเหมือนกันคือ
๑. การทำวัตรสวดมนต์ (พระสงฆ์จะทำวัตร สวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบแล้ว อุบาสกอุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นล้วน ๆไม่สวดแปลให้ทำตามธรรมเนียมของวัดนั้นๆ)
๒. การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานศีล ๕ ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีลหรือศีลอุโบสถมี ๘ ข้อ
๓. การฟังธรรม
๔. การบำเพ็ญจิตภาวนา
๕. การถวายสังฆทาน

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พระครูภาวนาวีรคุณ ถวายความดีแด่หลวงพ่อสมเด็จ ๑๐ต.ค.๕๗ (ครั้งที่๗)











วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ ในเวลา ๑๙.๐๐ น. พระครูภาวนาวีรคุณ(หลวงพ่อองอาจ อาภากโร) พร้อมด้วย ท่านเจ้าคุณพระสุวรรณมหาพุทธาภิบาล วัดไตรมิตรวิทยาราม พระครูศรีพรหมคุณ วัดจักรวรรดิราชาวาสพร้อมคณะสหธรรมมิก และญาติโยมพุทธบริษัท ร่วมทำบุญในโครงการ "วันที่ ๑๐ คิดถึงหลวงปู่สมเด็จครับ" ทำพิธีบำเพ็ญกุศลถวายอุทิศเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ทุกเดือนของวันที่ ๑๐ สาธุครับ
และอนุโมทนาบุญกับยอดคงเหลือทำบุญในครั้งนี้ ๒๘,๕๐๐ บาท

ประกาศอนุโมทนารายนามพระสงฆ์ร่วมอนุโมทนาบุญในครั้งนี้
๑.พระราชภาวนาพิธาน วัดโสธร ๑๐,๐๐๐ บาท
๒.พระสุวรรณมหาพุทธาภิบาล วัดไตรมิตรวิทยาราม ๑๐,๐๐๐ บาท
๓.พระครูภาวนาวีรคุณ วัดวีระโชติธรรมาราม ๑๐,๐๐๐ บาท
๔.พระครูศรีพรหมคุณ วัดจักรวรรดิราชาวาส ๑๐,๐๐๐ บาท
๕.พระครูสิทธิธรรมานุกูล วัดละหาร ๒,๕๐๐ บาท
๖.พระครูสุวัฒน์บุญโญภาส วัดเชิงเลน ๓,๐๐๐ บาท
๗.พระครูพินิจวรกิจวิมล วัดเทพนิมิตร ๒,๐๐๐ บาท
สาธุอนุโมทนาบุญด้วยครับ

๑๑ ต.ค. ๕๗ พระครูภาวนาวีรคุณเป็นประธานพิธีบวงสรวง วัดศรีสุมังค์



วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ พระครูภาวนาวีรคุณ(หลวงพ่อองอาจ) เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักปฎิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งที่ ๒๘ วัดวีระโชติธรรมาราม เป็นประธานพิธีบวงสรวง งานบุญทอดกฐินและหล่อพระ ณ วัดศรีสุมังค์ อ.เซกา จ.บึงกาฬ และร่วมอนุโมทนาสาธุ ยอดกฐิน ๒,๖๕๐,๓๗๕ บาท 

ข้อมูลโดย นายประชุม แก้วพินิจ

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

๑๒ต.ค.๕๗ อนุโมทนาบุญกับหลวงพ่อโอ วัดท่าซุงร่วมบุญกฐินวัดวีระโชติ








วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๗ อนุโมทนาบุญกับหลวงพ่อโอ(พระครูสมุห์พิชิต) วัดท่าซุง ร่วมบุญกฐินวัดวีระโชติธรรมาราม ผ้าไตรเต็ม ๑ ไตร ปัจจัย ๑๐,๐๐๐ บาท ทางวัดในนามเจ้าอาวาส ขออนุโมทนาขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ครับ

และยังฝากผ้าไตร ๑ ไตร ปัจจัย ๑๐,๐๐๐ บาท ไปร่วมทอดกฐินวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร อีกด้วย สาธุอนุโมทนามิ ครับ