วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

ส่งความสุข สู่ความฝันให้เด็กไทย งานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ.วัดวีระโชติธรรมาราม ปีที่ 5

ส่งความสุข สู่ความฝันให้เด็กไทย งานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ.วัดวีระโชติธรรมาราม ปีที่ 5

ช่วงเวลาสุดหรรษาของคุณหนู ๆ กำลังโคจรมาอีกครั้ง วันเด็กแห่งชาติ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเติมเต็มสิ่งที่ขาด สาน-สร้าง-สรรค์-สุข ฉลองรับวันเด็ก ปี 2557 วันเสาร์ ที่ 11 มกราคม 2557 ตั้งแต่เวลา 08.00-12.00 น. ณ วิหารแก้ว วัดวีระโชติธรรมาราม พบกิจกรรมการละเล่นและรับของขวัญของรางวัลมากมาย และมีอาหารเลี้ยงแก่เด็กที่มา จำนวนประมาณ 200 คน ร่วมแรง ร่วมใจ ในเป็นกำลังใจ ให้กลับคืนมา และเพื่อให้นักเรียนมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ พัฒนาผู้เรียน เก่ง ดี และเรียนอย่างมีความสุข

ใครจะมีจิตอาสา ร่วมกิจกรรม เติมความฝันให้เด็ก และสร้างรอยยิ้มให้เด็ก ก็เชิญได้ที่วัดนะครับ

หรือจะร่วมบริจาคเป็นสิ่งของที่เหลือใช้ ไม่ได้ใช้ อุปกรณ์การเรียนหรือสิ่งที่คิดว่าจำเป็นแก่เด็กๆ หรือจะร่วมมอบเป็นกองทุนกาศึกษา สำหรับเป็นทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียน

เป็นเจ้าภาพกองทุนการศึกษา กองละ 100 บาท จำนวน 200 กองหรือตามกำลังศรัทธา เพื่อมอบให้แก่เยาวชน เด็ก ๆ ในบริเวณวัดวีระโชติหรือใกล้เคียง

บุญพิเศษ มอบความอบอุ่น รอยยิ้ม ความสุขในวันเด็ก ที่วัดวีระโชติฯ โดยร่วมเป็นเจ้าภาพผ้าห่มมอบให้เด็ก จำนวน 200 ผืน ขนาด150x180 cm รับเจ้าภาพผืนละ 100 บาท หรือตามกำลังศรัทธา

โทร. 0819260310 0890931244


เป็นเจ้าภาพผ้าป่าตลอดปี 2557 ตั้งธนาคารบุญกองทุน ค่าน้ำ-ค่าไฟวัดวีระโชติ วันละ 1 บาท 1 ปีเท่ากับ 365 วัน

เรียนเชิญเป็นเจ้าภาพผ้าป่าตลอดปี 2557 ตั้งธนาคารบุญกองทุน ค่าน้ำ-ค่าไฟวัดวีระโชติ วันละ 1 บาท 
ร่วมด้วยช่วยกันนะครับ หรือตั้งเป็นธนาคารบุญในนาม ตระกูลหรือนามสกุล ของเราเอง เริ่มต้นที่กองทุนละ 1,000 บาทโดยทางวัดจะจัดทำบัญชีธนาคารกองทุนให้
ด้วยเหตุที่ค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าไฟฟ้าที่วัดมีจำนวนสูงมาก เดือนละ 60,000 กว่าบาท ทุกเดือน ในกรรมเก่าบางกรรมที่ส่งผลให้กับชีวิตและการทำงานของเรานั้น มาจากการเหนี่ยวรั้งของกรรมไม่ดี มาปิดทางไม่ให้กรรมดีส่งผล เจ้ากรรมนายเวรเขาจะบังคับหรือชักนำให้เราหลงทางที่จะพบความเจริญ มีความคิดที่ผิด ที่ชอบที่ควร เกิดทิฐินึกว่าสิ่งที่ทำหรืออาชีพที่ทำนั้นดีอยู่แล้ว แต่ทว่าไม่มีทางสำเร็จลงได้ หมั่นถวายเงินหรือปัจจัยนี้เมื่อมีโอกาส
การเป็นเจ้าภาพค่ากระแสไฟเปรียบเหมือนการชำระหนี้สงฆ์ควรทำ เพราะเชื่อว่าที่ผ่านมาหลายร้อยชาติที่เกิดมา ต้องมีการพลั้งพลาดในการติดหนี้สงฆ์แน่นอน แค่ไปวัดมีเศษดินเศษไม้ ติดรองเท้ามาก็ถือว่าเป็นหนี้แล้ว หรือไปใช้ไฟใช้น้ำที่ต้องต่างๆเล็กน้อย ไม่รวมกับการไปรับปากว่าจะทำอะไรหรือตั้งใจจะทำอะไรให้กับพระพุทธศาสนาแล้วไม่ได้ทำไม่ว่าด้วยเหตุอันใดก็ตาม
อย่าไปคิดเงินที่เราหยอดผ่านตามตู้ที่เราหยอดนั้น เขาจะไปเอาทำอะไร ถ้าเรามัวแต่ไปเสียดาย สงสัย บุญนั้นจะส่งผลไม่เต็มที่เพราะมีอุปสรรคกรรมขวางทางอยู
สำหรับผู้สนใจจองเป็นเจ้าภาพในแต่ละเดือนนั้นไม่จำกัดจำนวนเจ้าภาพ แต่หากเป็นเจ้าภาพตั้งแต่ 5,000 บาท ทางวัดจะจัดทำสมุดธนาคารในชื่อเจ้าภาพให้หรือทำตามกำลังศรัทธาก็ได้ สามารถโทรติดต่อเพื่อจองเป็นเจ้าภาพ โดยให้ชื่อ-สกุล ในหน้าเพจนี้ก็ได้

หรือทำบุญผ่านบัญชีธนาคาร
๑.ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุวินทวงศ์ ฉะเชิงเทรา
ชื่อพระครูวินัยธรองอาจ อาภากโร(กองทุนค่าไฟฟ้าวัด)
เลขที่ 409-2-41136-8
๒.ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุวินทวงศ์ ฉะเชิงเทรา
ชื่อกองทุนชมรมลูกพระราชพรหมยาน
เลขที่ 409-2-48761-5

โอนแล้วช่วยแจ้ง sms ที่เบอร์ 087 922 4888

อานิสงส์แห่งการถวายไฟฟ้าเป็นพุทธบูชา
๑.ย่อมเป็นผู้รู้คุณของพระรัตนตรัยทำให้มีศรัทธามั่นคง ๒.เป็นผู้มีความเคารพมีสัมมาคารวะ
๓.เป็นผู้มีดวงตาสดใสสวยงามมองได้ไกลดวงตาบริสุทธิ์บริบูรณ์ ๔.ทำให้เป็นผู้มีทิพยจักษุ(ตาทิพย์)
๕.มีผิวพรรณผ่องใสมีจิตใจสดชื่นเบิกบาน ๖.มีรัศมีกายสว่างไสวมีสติสัมปชัญญะไม่ประมาทในชีวิต
๗.ทำให้มีปัญญาเฉลียวฉลาดมีปฎิภาณว่องไวแตกฉานในสรรพวิชชาทั้งทางโลกและทางธรรม ๘.ย่อมไม่ไปเกิดในทุคติ
๙.ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย

สอบถามร่วมเป็นเจ้าภาพได้ที่ https://www.facebook.com/events/139367482913500/?ref=22
หรือโทรมาก็ได้ที่ 0879224888

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สมเด็จพระพุฒาจารย์ จากหนังสือ ราชพรหมยานมหาเถรานุสรณ์

 สมเด็จพระพุฒาจารย์ จากหนังสือ ราชพรหมยานมหาเถรานุสรณ์

สมเด็จพระพุฒาจารย์
เจ้าอาวาสวัดสระเกศ
จากหนังสือ ราชพรหมยานมหาเถรานุสรณ์
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นพระเถระองค์สำคัญ ในสังฆมณฑลในพระศาสนายิ่งรูปหนึ่งได้อุทิศชีวิตร่างกายนี้เพื่อพระศาสนามาโดยแท้
ได้เข้ามาอยู่ในร่มเงาของพระศาสนาแล้ว มีความซาบซึ้งในร่มในเงาของพระศาสนา แม้หลวงพ่อจะไม่ได้บอกแก่เราทั้งหลายอย่างตรง ๆ
ว่า หลวงพ่อซาบซึ้งในร่มงานของพระศาสนา?แต่ด้วยการกระทำและการพูดทุกอย่าง เป็นเหตุที่จะให้กล่าวได้ว่า หลวงพ่อท่านรู้สึกสำนึกในร่มในเงาของพระศาสนา
หลวงพ่อจึงสามารถอุทิศชีวิตร่างกายนี้ทั้งหมด เพื่อพระพุทธเจ้า เพื่อพระธรรมคำสอน และพระอริยสงฆ์ ไม่มีความหวั่นไหว
และไม่มีใครจะสามารถเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเช่นนั้นของหลวงพ่อได้เลยแม้แต่เพียงเล็กน้อย มีความมั่งคงทวีตรีคูณขึ้นไปโดยลำดับ?
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในวัดท่าซุง เกิดขึ้นเพราะน้ำใจที่เด็ดเดี่ยว แน่นอน แกล้วกล้า ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำทั้งสิ้น กล่าวได้ว่าเป็นน้ำใจที่เต็มไปด้วยสัจจะ มีคุณธรรมหนักแน่นไม่คิดเป็นอย่างอื่นมุ่งตรงมั่นต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเดียว
ชีวิตของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ จึงเป็นชีวิตที่รองรับพระรัตนตรัย สมกับที่หลวงพ่อได้เปล่งวาจาเป็นปณิธานอย่างที่ท่านทั้งหลายรู้กันว่า
พุทธัสสาหัสมิ ทาโสวะ ธัมมัสสาหัสมิ ทาโสวะ สังฆัสสาหัสมิ ทาโสวะ คือ อุทิศชีวิตนี้ให้เป็นผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมของพระองค์ และพระอริยสงฆ์ เป็นที่ตั้งแม้จะเป็นชีวิตที่เล็กน้อย แต่ก็อุทิศชีวิตเพื่อจะรองรับพระยุคลบาทอย่างเต็มกำลัง
หลวงพ่อฤาษีลิงดำ หนักแน่นในพระศาสนาในเบื้องต้น แล้วได้ค้ำจุนเกื้อหนุนไปถึงสถาบันชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ชีวิตของหลวงพ่อจึงเป็นชีวิต
ที่รองรับสถาบันที่สำคัญในบ้านเมือง คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พร้อมกันไป? ท่านทั้งหลายที่เป็นศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อ อนุสรณ์รำลึกให้ดีแล้วก็จะเกิดปิติโสมนัสว่า
มีหลวงพ่อเช่นนี้ มีหลวงพ่อที่ไม่รู้จักสิ้นสุด ไม่รู้จักตายเช่นนี้ ยากจะมีพระสงฆ์ในพระศาสนาที่เป็นเหมือนหลวงพ่อเช่นนี้อีก? จนกระทั่งทำให้ท่านทั้งหลาย
เกิดความรู้สึกด้วยตนเองว่า หลวงพ่อเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์ และศักดิ์สิทธิ์ให้ท่านทั้งหลายได้เห็นในเวลาที่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ และต่อหน้าต่อตาของท่านทั้งหลายนับครั้งไม่ถ้วน
การที่หลวงพ่อสามารถปฏิบัติบำเพ็ญได้เช่นนี้ เป็นเหตุที่จะให้พรรณนาได้ว่าสอดคล้องกันกับธรรมภาษิต ที่ได้ยกขึ้นไว้เป็นภาษาบาลีในเบื้องต้นว่า
“ยัมหิ สัจจัญจะ” ดังนี้ เป็นต้น ท่านแปลความกันไว้ว่า “ในท่านใด มีคุณสมบัติที่เป็นคุณธรรม ๕ ประการ คือ สัจจะ ประการหนึ่ง ธรรมะประการหนึ่ง
อหิงสา ประการหนึ่ง สัญญมะ ประการหนึ่ง และ ทมะ เป็นประการที่ ๕ ท่านผู้ประเสริฐทั้งในระดับธรรมดา และสูงขึ้นไปถึงพระชั้นอริยะ
ย่อมนิยมคบหาสมาคมท่านผู้มีคุณธรรม ๕ ประการนั้น และคุณธรรม ๕ ประการนั้นแล ย่อมเป็นเหตุบันดาลให้ชีวิตของท่านผู้นั้น เป็นอมตะ ไม่รู้จักตาย”
จึงพรรณนาได้ว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นพระเถระที่มีคุณธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ หลวงพ่อฤาษีลิงดำจึงมีคุณธรรมที่บันดาลให้ชีวิตเป็นอมตะไม่รู้จักตาย
ท่านทั้งหลายระลึกนึกได้ว่า หลวงพ่อนี่แหละคือพระที่มีคุณธรรม ๕ ประการจึงรู้สึกเคารพนับถือ บูชา รักใคร่ไม่รู้จักสร่าง แม้หลวงพ่อจะมรณภาพไปแล้วก็ยังคงเหมือนเดิม
สมเด็จพระพุฒาจารย์
เจ้าอาวาสวัดสระเกศ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อานิสงส์บวชพระ-บวชเณร โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน


อานิสงส์บวชพระ-บวชเณร
โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

องค์สมเด็จจพระบรมศาสดาตรัสว่า การอุปสมบทบรรพชามีอานิสงฆ์พิเศษ ซึ่งสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสว่า อานิสงส์อย่างอื่น มีการสร้างวิหารก็ดี การถวายสังฆทานก็ดี ทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงฆ์สำคัญ แต่อานิสงส์นั้น บุคคลที่จะพึงได้ต้องโมทนาก่อน แต่ว่าการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรมบรมศาสดาสัมมามัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า "สมมติว่าบุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อแม่ย่อมไม่รู้จักกัน เวลาที่อุปสมบทบรรพชานั้น บิดามารดาไม่ทราบ แต่บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์นั้นโดยสมบูรณ์ การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่าเป็นกุศลพิเศษ"

คำว่า "บรรพชา" หมายความว่า บวชเป็นเณร คำว่า "อุปสมบท" หมายความว่า บวชเป็นพระ

ท่านที่บรรพชาในพระพุทธศาสนาเป็นสามเณร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านผู้บรรพชาเอง คือ เณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดีก็เป็นการลงทุนซื้อสวรรค์ ถ้าปฏิบัติเลว การบวชพระบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรก ท่านที่บวชเป็นเณรเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้วประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามระบอบพระธรรมวินัย สำหรับท่านผู้เป็นเณรนั้นไซร้ ย่อมมีอานิสงส์ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดาไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌาน ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนสวรรค์ได้ถึง ๓๐ กัป ถ้าหากว่าทำจิตของตนเกือบเป็นฌาน ได้ฌานสมาบัติ ตายจากความเป็นคนจะเกิดเป็นพรหม มีอายุอยู่ถึง ๓๐ กัป เช่นเดียวกัน

อายุเทวดาหรือพรหมย่อมมีกำหนดไม่ถึง ๓๐ กัป ก็หมายความว่า เมื่อหมดอายุแล้วก็จะเกิดเป็นเทวดาใหม่ เกิดเป็นพรหมใหม่อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง ๓๐ กัป หรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้าพระนิพพานก่อน บิดามารดาของสมาเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ ๑๕ กัป ครึ่งหนึ่งของเณร

องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสต่อไปว่า บุคคลผู้มีวาสนาบารมี คือมีศรัทธาแก่กล้า ตั้งใจอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเป็นพระสงฆ์ แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ต้องปฏิบัติชอบ ประกอบไปด้วยคุณธรรม คือ มีพระธรรมวินัยเป็นสำคัญ ท่านที่บวชเป็นพระด้วยตนเอง จะมีอานิสงฆ์อยู่เป็นเทวดา หรือพรหม ๖๐ กัป บิดามารดาจะได้คนละ ๓๐ กัป นี่เป็นอานิสงส์พิเศษ

แต่ทว่าภิกษู-สามเณร ท่านใดทำผิดบทบัญญัติในพระพุทธศาสนา ก็พึงทราบว่า เมื่อเวลาตายก็มีอเวจีเป็นที่ไปเหมือนกัน อานิสงส์ที่พึงได้ใหญ่เพียงใดโทษก็มีเพียงนั้น

สำหรับผู้ที่ช่วยในการบวช การอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา คือบำเพ็ญกุศลร่วมกับเขา ด้วยจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้าง ช่วยขวนขวายในกิจการงานในการที่จะอุปสมบทบ้าง อย่างนี้องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือในพรหมโลกคนละ ๘ กัป
แต่ถ้าหากเป็นคนฉลาด อย่างที่วัดนี้เขาบวชพระกัน๔๒ องค์ เราก็บำเพ็ญกุศลช่วยในการบวชพระ ไม่เจาะจงเฉพาะท่านผู้ใดผู้หนึ่ง เรียกว่าช่วยทั้งหมด ทั้ง ๔๒ องค์ ก็ต้อง ๔๒ ตั้ง เอา ๘ คูณ (๓๓๖ กัป)

อานิสงส์กุศลบุญราศีที่เราจะพึงได้สำหรับท่านผู้เป็น เจ้าภาพ ในฐานะคนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา แต่ว่าเป็นผู้จัดการขวนขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้ อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะได้อานิสงส์ ๑๒ กัป จะมีผลลดหลั่นซึ่งกันและกัน

การที่นำเอาอานิสงส์บรรพชากุลบุตรกุลธิดาไว้ในพระพุทธศาสนามาแสดงแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท เพราะเห็นว่าในเวลานี้ บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายยังไม่ค่อยจะมีความเข้าใจคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วในข้อนี้

อีกประการหนึ่ง การจะบวชลูกหลานเข้าไว้ในพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งใจจะเอาบุญ ถือทำกันตามประเพณีเป็นสำคัญ พอเริ่มการจัดงานก็มีการฆ่าไก่บ้าง ฆ่าปลาบ้าง ฆ่าหมูบ้าง ฆ่าวัวฆ่าควายบ้าง เอาสุราเบียร์เข้ามาเลี้ยงกันบ้าง ถ้าทำกันตามประเพณีแบบนี้ก็จะได้ชื่อว่า ไม่มีอานิสงส์กุศลบุญราศีอะไรเลย เพราะมีเจตนาชั่ว คือเริ่มต้นก็ทำบาปก่อนแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า ถ้าจิตเป็นอกุศล กุศลใดๆ ที่ตนคิดว่าจะทำมันก็ไม่ปรากฏ

ฉะนั้น ในการใด ถ้าเราจะบำเพ็ญกุศลบุญราศีให้ปรากฏเป็นผลดี ก็ขอให้การนั้นเป็นการที่บำเพ็ญกุศลจริงๆ จงเว้นกรรมที่เป็นอกุศลเสียให้หมด งดสิ่งที่เป็นความชั่วทุกประการ ตั้งใจไว้เฉพาะบำเพ็ญกุศลบุญราศีเท่านั้น

กุลบุตรที่บวชในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ความผ่องใสของท่านผู้บวชก็มีขึ้น คือ จิตผ่องใสปราศจากอารมณ์ที่เป็นกิเลส ต่อมาปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ คือเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน จนอารมณ์ชื่นบานเข้าถึงธรรมปีติ คำว่า ธรรมปีติ หมายความว่า ยินดีในการปฏิบัติความดีในด้านพระธรรมวินัยอย่างหนึ่ง ยินดีในการเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา อานิสงส์กุศลบุญราศีก็เกิด

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปรียบเทียบไว้ว่า ผู้ใดอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว วันหนึ่งทำจิตใจว่างจากกิเลสเพียงวันละชั่วขณะจิตเดียวเวลานอกนั้นจิตก็ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ แต่พยายามควบคุมกำลังใจไม่พลาดพลั้งจากพระธรรมวินัย ท่านผู้นั้นบวชเข้ามาแม้แต่วันเดียว ก็ย่อมมีอานสงฆ์ดีกว่าพระที่บวชเข้าในพระพุทธศาสนาตั้ง ๑๐๐ ปี มีศิลบริสุทธิ์ แต่ไม่เคยเจริญสมาธิจิต คือ ทำจิตว่างจากกิเลสวันหนึ่งชั่วขณะจิตเดียว มีรัศมีกายสว่างไสวกว่า

รวมความว่า การอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นปัจจัยเข้าถึงพระนิพพาน และมีอานิสงส์เป็นสามัญผล คือผลที่เสมอกัน คนที่บวชในพระพุทธศาสนาจะลูกผู้ดีหรือยากจนเข็ญใจย่อมมีสิทธิเสมอกันในการทรงสิกขาบท และในการกำหนดจิตปฏิบัติสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน

ถามพระท่านว่า "ถ้าพระพวกนั้นจะทำบุญบวชพระบ้างทั้งๆ ที่ตัวเองก็บวช และทำบุญด้วยจะมีอานิสงส์เหมือนญาติโยมไหม"

พระท่านก็บอกว่า "ถ้าเขาจะทำบุญต้องทำบุญก่อนที่เขาจะบวช นั่นหมายความว่า ขณะที่บวชก็เอาเงินมาช่วยกับกองกลาง เท่าไรก็ตามที่จะพึงมีตั้งใจบวชพระทั้งหมด ท่านพวกนั้นจะมีอานิสงส์นอกจากของตัวเอง ๖๐ กัปแล้ว จะมีอานิสงส์เป็นเจ้าภาพด้วย เอา ๑๒ คูณ จำนวนองค์ที่บวช

ถามท่านว่า "ถ้าพระทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อบวชแล้วจึงรู้อานิสงส์ เมื่อบวชแล้วเอาสตางค์มาร่วมในการทำบุญบวชพระ

ท่านบอก "อันนี้ไม่ใช่แล้ว นั่นต้องเป็นทานบารมีปกติ เป็นถวายสังฆทานไป อานิสงส์นับกัปไม่ได้ แต่มีความร่ำรวยแน่ รวยทุกชาติ"

โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน จากหนังสือ "พ่อสอนลูก" หน้า ๓๕๗-๒๖๑
หลัก ๑๐ ประการ ตามรอยพระยุคลบาท (ย่อความจากหนังสือ หลักธรรมทำตามรอยพระยุคลบาท)

งานเขียนของ " ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล " เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เวลานี้คนไทจำนวนไม่น้อยกำลังใช้ชีวิตตามอย่างโลกตะวันตก โดยหลงลืมความเป็นตะวันออกไปจนแทบหมดสิ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงเป้นแบบอย่างที่ดีในทุกด้านโดยเฉพาะทรงมีความเป็นไทยอย่างที่สุด ดูได้จากพระราชจริยวัตรของพระองค์ทั้งเรียบง่าย พอดี และมีความอ่อนน้อมถ่อมตน นี่คือลักษณะของคนตะวันออกที่หาได้ยากแล้วในปัจจุบัน ถึงเวลาที่คนไทยจะต้องหันมาตามรอยพระยุคลบาทโดยยึดหลักธรรมทั้งหลายที่ทรง แสดงให้เห็น มาใช้เป็นหลักปฏิบัติ หรือเป็นหลักทำ ทั้งนี้เพื่อความดีงามอันจะบังเกิดขึ้นในชีวิตที่เหลืออยู่นี้

ที่มา :https://www.facebook.com/notes/mark-...94420197280532
- สุเมธ ตันติเวชกุล. หลักธรรมทำตามราอยพระยุคลบาท. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์
- รามาเวชสาร Volume 30 no.1 2007: หน้า 55-56http://board.palungjit.org/f10/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B9%91%E0%B9%90-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97-%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%98-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5-514595.html#post8514457

หนังสือ "ตายแล้วไปไหน" ภาคที่ ๔: ตายจากความเป็นมนุษย์แล้วไปเกิดบนสวรรค์ เรื่องที่ ๔๒ หลวงพ่อปานวัดบางนมโคปรารถนาพระโพธิญาณมรณภาพแล้วไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดุสิต 
โดยพระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน มหาเถระ วัดท่าซุง


“..พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นคนบางนมโค มีฐานะค่อนข้างจะมั่งคั่ง สมัยนั้นเขามีทาสกัน ที่บ้านท่านก็มีทาส เมื่อท่านเป็นเด็กอายุประมาณ ๔-๕ ขวบ ท่านวิ่งเล่นใต้ถุนบ้านย่าของท่าน เวลานั้นคุณย่าของท่านกำลังป่วยหนักใกล้จะตาย ตอนบ่ายประมาณ ๒-๓ โมงเย็น ทุกคนมาเยี่ยมรวมทั้งโยมพ่อโยมแม่ของท่านก็ไป เมื่อทุกคนขึ้นไปแล้ว ท่านก็ได้ยินเสียงบอกดังๆ ว่า “แม่ แม่ อรหังนะ อรหัง ภาวนาไว้ พระอรหัง จะช่วยแม่” ท่านยืนฟังอยู่ใต้ถุนบ้าน สงสัยเขาว่าอรหังกันทำไม จึงย่องขึ้นไปที่หน้าบันไดชานเรือน ก็เห็นเขาเอาปากพูดกรอกไปที่ข้างหูคุณย่าท่านบอกว่า “แม่ แม่ อรหังนะ อรหัง” แต่พอผู้ใหญ่มองเห็นท่านเข้าก็ไล่ท่านลงไป พอถึงตอนเย็นเป็นเวลากินข้าว ท่านแม่ก็เรียกลูกกินข้าว เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้ว ท่านแม่ก็จัดกับข้าวมาวางตรงกลาง สำหรับหลวงพ่อป่านท่านเป็นเด็ก เขาเอาข้าวใส่จานกับแกงเผ็ดฉู่ฉี่แห้งที่ท่านชอบมาให้ แบบประเภทข้าวราดแกง ไม่ต้องไปตักกับข้าวตรงกลางวง เมื่อท่านกินข้าวกับข้าวอร่อยถูกใจก็เกิดความชุ่มชื่นใจ จิตนึกถึงคำว่า “อรหัง อรหัง” ขึ้นมาได้ ท่านก็ปลื้มใจเลยเปล่งวาจาออกมาดังๆ ว่า “อรหัง อรหัง” ท่านแม่มองตาแป๋วลุกพรวดจับชามข้าวที่ท่านถืออยู่วางไว้ แล้วจับตัวท่านวางปังออกไปนอกชาน ร้องตะโกนสุดเสียงว่า “เอ้า จะตายโหงตายห่า ก็ไปตายคนเดียว จะมาว่า “อรหัง” ที่นี่ได้รึ คำว่า“อรหัง หรือ พุทโธ” นี่คนเขาจะตายเท่านั้นแหละเขาว่ากัน ทำเป็นลางร้ายให้คนอื่นเขาพลอยตายด้วย”

ท่านแปลกใจคิดว่า เราว่าดีๆ แม่ดุเสียงเขียวปัด ในเมื่อถูกดุอย่างนั้นขืนว่าอีกก็เกรงไม้เรียวก็เลยไม่ว่าอีก ลุกไปหยิบจานข้าวไปกินทั้งน้ำตาคลอด้วยความเสียใจ ทีเวลาท่านให้คนอื่นพูดได้ แต่เราเป็นเด็กจะว่ามั่งก็ไม่ได้ ตอนหลังที่ท่านบวชแล้ว ท่านได้แนะนำให้ท่านแม่ทราบว่า คำว่า “อรหัง หรือ พุทโธ” นี้ถ้าใครภาวนาไว้ เป็นวาจาที่กล่าวถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์ทั้งหมด เขาห้ามตกนรก ทั้งนี้ก็เพราะว่า คนที่ภาวนา “พุธโธ หรือ อรหัง” จัดว่าเป็นคนปรารถนาความดีของพระพุทธเจ้า มีความดีเกินกว่าที่จะลงนรก ท่านให้ท่านแม่ภาวนาทุกวัน เวลาท่านแม่ตายท่านก็ยึด “พุทโธ และ อรหัง” เป็นอารมณ์ ก่อนที่ท่านทั้งสองจะตาย ท่านทรงฌานละเอียดและก็ได้วิปัสสนาญาณละเอียด ท่านจึงดีใจมากเวลาที่ท่านทั้งสองตาย แต่ท่านทั้งสองต้องกลับมาเกิดอีกวาระหนึ่ง เพราะหลวงพ่อปานต้องเกิดเป็นลูกท่านอีกครั้งหนึ่ง แล้วต่อจากนั้นท่านทั้งสองไม่มีโอกาสจะเกิดอีกแล้ว

รูปร่างลักษณะของหลวงพ่อปานสมส่วนทุกอย่าง ผิวขาวนวล เสียงท่านเพราะมาก เมื่อท่านโตขึ้นมา ท่านช่วยพ่อแม่ทำนา ท่านเป็นคนขยัน เคยขอให้ท่านนั่งขัดสมาธิ แล้วกราบขออภัยท่าน ขอเอาเชือกวัดรอบศีรษะ วัดหน้าตัก วัดจากตักไปถึงบ่า ได้ส่วนทุกอย่างกับส่วนของพระพุทธรูปเป๊ะเลย เมื่ออายุท่านใกล้ถึงเกณฑ์บวช ท่านพ่อท่านแม่บอกจะขอลูกสาวคนรวยให้แต่งงานกับท่าน หลังจากบวชแล้ว ท่านบอกว่า “เรื่องแต่งงานเอาไว้ทีหลัง ขอให้บวชเสียก่อน เพราะบวชแล้วไม่แน่จะสึกหรือไม่สึก ถ้าสึกก็แต่ง ไม่สึกก็ไม่แต่ง”

สมัยที่ท่านเป็นหนุ่ม ที่บ้านท่านมีคนรับใช้เป็นทาสอยู่คนหนึ่งอายุแก่กว่าท่าน ท่านเรียกว่าพี่เขียว อายุประมาณ ๒๕ ปี ตอนกลางวันอยู่ด้วยกัน ๒ คน ท่านเกิดสงสัยเนื้อผู้หญิงขึ้นมา เพราะตั้งแต่เกิดมานอกจากเนื้อแม่กับเนื้อพี่แล้ว ท่านไม่เคยจับเนื้อใคร จึงคิดว่าเนื้อผู้หญิงมันดีอย่างไร ผู้ชายถึงอยากได้กันนัก บางทีถึงกับฆ่ากันเลย ท่านจะบวชแล้วถ้ามันดีจริงก็จะสึก ถ้าไม่ดีก็ไม่สึก ท่านจึงเข้าไปหาพี่เขียวซึ่งอยู่ในครัว ยกมือไหว้ขอขมาบอกว่าไม่ได้ดูถูกดูหมิ่น ขอจับเนื้อดูหน่อย อยากจะพิสูจน์ว่ามันดียังไง ผู้ชายเขาถึงชอบกันนัก พี่เขียวก็แสนดีอนุญาตให้จับได้ ท่านก็เลือกจับเนื้อที่หน้าอก แต่ไม่ได้จับมากหรอก และก็ไม่ได้ลวนลามไปถึงไหน จับๆ แล้วท่านก็มาจับเนื้อน่องของท่าน และบอกพี่เขียวว่า “เนื้อมีสภาพคล้ายกันนี่ เนื้อของเราก็มีแล้ว ไปต้องการเนื้อคนอื่นอีกทำไม” ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาท่านก็เลยคิดว่า บวชคราวนี้ไม่สึกละ

เข้าสู่ผ้ากาสาวพัตร์

พออายุท่านครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ย่าง ๒๑ ปี ท่านพ่อก็พาท่านถือพานดอกไม้ธูปเทียนไปฝากหลวงปู่สุ่นเพื่อบวชที่วัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขณะที่เดินไปตามทางท่านพบปลาช่อนตัวใหญ่ตัวหนึ่งอยู่ในหนองน้ำเกือบจะแห้ง ท่านก็จับไปปล่อยในแม่น้ำ ท่านบอกว่า ในชีวิตของท่านไม่เคยฆ่าสัตว์เลย ไม่ว่าสัตว์ตัวเล็กตัวใหญ่ก็ตาม ถ้าฆ่าโดยเจตนาแล้วท่านไม่เคยทำ แม้แต่ยุงก็ไม่เคยตบ เมื่อไปถึงวัด หลวงปู่สุ่นเห็นเข้าก็กวักมือเรียก หลวงพ่อปานก็เข้าไปกราบท่านก็เอามือลูบศีรษะบอกว่า “อยู่กับพ่อจะได้ดีนะ นับตั้งแต่นี้ไปเป็นลูกของพ่อ วิชาความรู้จะถ่ายทอดให้ทั้งหมด และจะไม่สึก” ทำให้ท่านพ่อและหลวงพ่อปานปลื้มใจมาก เพราะเวลานั้นหลวงปู่สุ่น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากเป็นกรณีพิเศษ

ความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่

หลวงพ่อปานท่านมีความกตัญญูกตเวทีกับพ่อแม่มาก เวลาป่วยท่านไม่ยอมให้อยู่ที่บ้าน ท่านนำมารักษาที่วัดให้นอนในกุฏิท่าน ผ้านุ่งผ้าห่มของท่านท่านซักเอง เวลาท่านแม่ลุกไม่ถนัดท่านก็อุ้มลุกอุ้มนั่ง เช็ดขี้เช็ดเยี่ยวให้ มีหลายคนตำหนิท่านว่า ท่านเป็นพระ ทำอย่างนี้แม่ท่านจะบาป ท่านก็เลยบอกว่า “พระพุทธเจ้าท่านว่าไม่บาป เป็นความดีที่แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ เวลานี้ท่านเป็นพระเป็นลูกของพระพุทธเจ้า ท่านก็เลยทำตามพระพุทธเจ้า พระองค์เทศน์ไว้ในพระไตรปิฎกมีอยู่ ในสมัยที่พระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติมีนามว่า “สุวรรณสาม”สมัยนั้นพระองค์ก็ปรนนิบัติดูแลท่านพ่อท่านแม่ของท่านเป็นอย่างดี

ปัจฉิมโอวาทของหลวงพ่อปาน

ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานอายุล่วงเข้า ๖๑ ปี ท่านป่วยมากเป็นครั้งแรก คณะศิษย์ในกรุงเทพฯรับท่านไปรักษาประมาณ ๑ เดือนท่านก็กลับวัด หลังจากป่วยคราวนี้แล้วท่านแจ้งให้บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ทราบว่านับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปอีก ๓ ปีท่านจะตายในวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๘ เวลาประมาณ ๖ โมงเย็น ปรากฏว่ามีคณะศิษย์พากันมาหาท่านมาก เมื่อใครก็ตามเข้าไปหาท่าน ตอนนี้ท่านสงเคราะห์ทุกอย่าง ทั้งด้านการรักษาโรค คาถาอาคมที่เป็นประโยชน์ ที่เป็นโทษท่านไม่ให้กับใคร นอกจากนั้นท่านก็สอนเฉพาะศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสำคัญ ท่านพูดย่อๆ ให้ฟังง่ายและเห็นชัด ส่วนใหญ่ท่านสอนด้านวิปัสสนาญาณ ให้ทุกคนรู้ตัวว่าตัวเองจะต้องตายและทุกคนก็ต้องตายเหมือนกัน จงอย่าประมาทให้สร้างแต่ความดี ถึงแม้ว่าจะมีคาถาอาคมดีเพียงใดก็ตาม เราก็ต้องตาย ก่อนที่จะตายนั้นควรจะเลือกทางเดิน อย่างน้อยที่สุดเราควรไปสวรรค์ชั้นกามาวจรให้ได้ แล้วท่านก็อธิบายว่า การที่ท่านสร้างวัดวาอารามต่างๆ ถึง ๔๐ วัด ทำบุญสุนทานต่างๆ ทั้งหมดนี้ก็เพราะท่านห่วงบรรดาประชาชนทั้งหลายจะได้ร่วมกันทำบุญ มากบ้างน้อยบ้างด้วยทรัพย์สินบ้าง ด้วยกำลังกายบ้าง ทุกคนที่ได้ช่วยงานท่านอย่างนี้ อย่างน้อยทุกคนจะต้องไปเกิดบนสวรรค์ ท่านสอนว่า ก่อนจะหลับให้นึกถึงความดีที่ตนเคยทำไว้ หมั่นภาวนาระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระอริยสังฆคุณ เป็นต้น

ก่อนหน้าวันตายของท่าน ๓ วัน หลวงพ่อปานได้บอกให้อาตมาจัดเครื่องบวงสรวงชุดใหญ่ พอวันรุ่งขึ้นเวลาประมาณ ๓ โมงเช้าท่านก็เริ่มพิธีบวงสรวงแล้วบอกว่า “วันนี้ใครจะคุยอะไรกับท่านก็คุยนะ หลังเที่ยงไปแล้วท่านจะไม่คุย พรุ่งนี้ท่านถึงจะตาย” ท่านนอนคุยเพราะลุกไม่ค่อยจะไหว เนื่องจากแรงท่านไม่มี พอถึงวันแรม ๑๔ ค่ำ ตอนเช้าท่านบอกว่า “นับตั้งแต่เที่ยงวันนี้เป็นต้นไป ท่านจะไม่พูดกับใครเลย” อาตมาได้ถามท่านว่า “ท่านจะสั่งอะไรบรรดาศิษย์เป็นครั้งสุดท้ายบ้าง เพราะวันนี้เป็นวันสุดท้ายของท่านแล้ว ถือว่าเป็นปัจฉิมวาจา” หลวงพ่อปานว่า “ให้สั่งพระกับชาวบ้านทั้งหมด ขอให้ทุกคนตั้งใจทำความดี คนไหนที่ทำความดีอย่างอื่นมากนักไม่ได้ ก็ให้สร้างความดี ๒ อย่างคือ ๑ อย่าดื่มสุราเมรัย ๒ อย่าลักขโมย คืออย่าประพฤติตนเป็นโจร”

จากนั้นหลังจากเที่ยงไปแล้วท่านก็เงียบ พอเวลาใกล้จะ ๖ โมงเย็น เหลืออีกประมาณ ๑๐ นาที ท่านลืมตาขึ้นมองหน้าอาตมาบอกว่า “ถ้าพ่อตายละก็ ช่วยไปสร้างโบสถ์วัดเสาธง ตำบลสารี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ให้เสร็จด้วยนะ” อาตมาบอกหลวงพ่อว่า “เวลานี้พระมานั่งกันเต็มประมาณ ๒๐๐ รูป อาตมาต้องการให้พระสงเคราะห์อะไรบ้าง” ท่านเลยบอกว่า “ถ้าพระจะสงเคราะห์ ให้ท่านสวดอิติปิโส และจุดธูปหอมๆ ให้ได้กลิ่นด้วย” พอ พระสวดอิติปิโส ไปได้สักพักหนึ่ง เหลือเวลาอีกนิดเดียวจะ ๖ โมงเย็น ท่านลืมตาขึ้นบอกกับอาตมาว่า “ให้บอกพระกับชาวบ้านว่าพ่อลานะ แล้วขอให้ทุกคนมีความสุขนะ ทุกคนตายแล้วจงไปสวรรค์ จงไปพรหมโลก จงไปพระนิพพาน” เมื่อพูดจบท่านก็หลับตา ท่านลืมตาอีกครั้งแล้วก็หลับตาปั๊บอีกที นาฬิกาเป๋งแรก ๖ โมงเย็นพอดีปรากฏว่าชีพจรดับพร้อมกัน พระครูอุดมสมาจารย์ นั่งหลับตาอยู่ห่างๆ ได้ลืมตาขึ้นมาบอกว่า “หลวงพ่อไปแล้วไปอย่างสบาย ออกไปสวยเหลือเกิน รูปร่างท่านสวยมาก เทวดา พรหมห้อมล้อมไปส่งท่านถึงสวรรค์ชั้นดุสิต”

พอบรรดาพระทราบว่าหลวงพ่อไปแล้ว ปรากฏว่าพระแก่หลายองค์เลิกสวดอิติปิโส แต่มาสวดร้องไห้แทน เมื่อพระร้องไห้ชาวบ้านที่อยากจะร้องอยู่แล้วมีมาก ก็เลยช่วยกันร้องเป็นการใหญ่ หลวงพ่อมรณภาพในกุฏิท่าน คนจะมาเคารพศพก็ลำบาก เพราะที่คับแคบ ต้องเคลื่อนศพมาไว้ที่ศาลาโดยไม่ได้ใส่โลงศพ สมัยนั้นยาฉีดกันเน่ากันเหม็นยังไม่มี จากวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๘ จนถึง วันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๙ ร่างกายของท่านไม่ผิดปกติเลย มีอาการเหมือนคนนอนหลับ เนื้อหนังที่จะผิดปกติอย่างคนตายก็ไม่มี กลิ่นเหม็นสักนิดหนึ่งก็ไม่มี..”