วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

พระประธานประจำอุโบสถ"พระราชพรหมยานอุปถัมภ์" แก้วกลางน้ำ คือ หลวงพ่อ 5 พี่น้อง ประกอบด้วย หลวงพ่อพระพุทธโสธร(ขนาด 109 นิ้ว) หลวงพ่อโต วัดบางพลี หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อวัดเขาตะเครา(ทั้ง 4 องค์ ขนาดหน้าตัก 4 ศอก)
วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2557

ติดต่อสอบถามโทร. 084 977 3339,087 922 4888 
หรือทำบุญโอนผ่านบัญชีธนาคารของทางวัด
1 ธนาคารกรุงไทย สาขาตลาดสุวินทวงศ์พลาซ่า ฉะเชิงเทรา 
ชื่อบัญชี กองทุนสร้างอุโบสถกรุงไทย(วัดวีระโชติธรรมาราม) เลขที่ 229-0-33490-1
2 ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนมหาจักรพรรดิ์ ฉะเชิงเทรา
ชื่อบัญชี กองทุนสร้างอุโบสถกรุงไทย(วัดวีระโชติธรรมาราม) เลขที่ 981-0-74933-3
3.ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุวินทวงศ์ ฉะเชิงเทรา 
ชื่อบัญชี กองทุนสร้างอุโบสถกสิกรไทย เลขที่ 409-2-53103-7
4.ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุวินทวงศ์
ชื่อบัญชี วัดวีระโชติธรรมาราม เลขที่ 386-8-00323-1
5.ธนาคารไทยพานิชย์ สาขาสุวินทวงศ์
ชื่อบัญชี กองทุนวัดวีระโชติธรรมาราม เลขที่ 404-443455-8

(ถ้าโอนแล้วแจ้ง SMS ได้ที่เบอร์ 087 922 4888)

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ความรู้เรื่อง ศาสนาพิธี ในพระพุทธศาสนา

ศาสนพิธี คือ พิธีทางศาสนา
พิธี คือ แบบอย่าง, แบบแผนที่พึ่งปฏิบัติ
ศาสนา คือ คำสั่งสอน  ลัทธิความเชื่อ  ในที่นี้ หมายถึง พระพุทธศาสนา
ศาสนาพิธีเกิดขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาแล้ว  ต่อมาพระองค์ได้ประกาศหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า  หัวใจพระพุทธศาสนา  ด้วยการแสดง “โอวาทปาฎิโมกข์” ในวันเพ็ญเดือน ๓ หรือ มาฆปุรมี สำหรับเป็นหลักปฏิบัติของชาวพุทธไว้ ๓ ประการ คือ
๑. สพฺพปาปสฺส  อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง
๒. กุสลสฺสูปสมฺปทา การทำความดี
๓. สจิตฺตปริโยทปนํ การทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส
ตามหลักการนี้  ชาวพุทธเมื่อไม่ทำชั่ว  ต้องทำดีด้วย ไม่ใช่อยู่เฉยๆ และที่พิเศษกว่าศาสนาอื่นคือพัฒนาจิตของตนให้สูงขึ้นจนถึงระดับบริสุทธิ์  สามารถละกิเลสทั้งปวงได้เด็ดขาด จึงชื่อว่าบรรลุเป้าหมายในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสว่านิพพานสูงสุด
จากหลักการข้างต้น พระองค์จึงตรัสวิธีทำความดีไว้เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ คือหลักการทำบุญ ๓ ประการ คือ
๑. ทาน แปลว่า การให้ หมายถึงการสละสิ่งของให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒. ศีล แปลว่า ปกติ หมายถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ไม่ผิดข้อบัญญัติ
ภาวนา แปลว่า อบรม, เจริญ, ทำให้มี หมายถึงการอบรมจิตให้สูงขึ้น
หลักการทำบุญทั้ง ๓ นี้ จึงทำให้เกิดพิธีกรรม เพื่อจะได้เป็นแบบแผนเดียวกัน เรียกว่า
ศาสนพิธี แบ่งเป็น ๔ หมวด คือ
๑. กุศลพิธี ได้แก่  พิธีบำเพ็ญกุศล 
๒. บุญพิธี ได้แก่  พิธีทำบุญ
๓. ทานพิธี ได้แก่  พิธีถวายทาน 
๔. ปกิณกพิธี ได้แก่  พิธีเบ็ดเตล็ด
หลักธรรมเปรียบเหมือนต้นไม้  ศาสนาพิธีเปรียบเหมือนเปลือกกระพี้ของต้นไม้ ถ้าต้นไม้ไม่มีเปลือกและกระพี้ คงไม่เจริญงอกงามและเฉาตายในที่สุด ฉะนั้น ศาสนาพิธีจึงช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาได้ เพราะเป็นสิ่งที่ชักจูงให้คนเข้าถึงแก่นธรรมจริงๆ

ที่มา:หนังสือนักธรรมชั้นตรี เรียบเรียงโดย คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์

  
หมวด กุศลพิธี
กุศล แปลว่า ฉลาด, สิ่งที่ตัดความชั่ว หมายถึงสิ่งที่ดีงาม ถูกต้องชอบธรรม กุศลพิธีจึงหมายถึงพิธีกรรมที่ฉลาดสามารถตัดความชั่ว และอบรมตนเองให้ดีงามตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้
กุศลพิธี พิธีบำเพ็ญกุศลในศาสนพิธีเล่ม ๑ นี้ มี ๓ เรื่อง คือ
๑.     พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
๒.     พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๓.     พิธีรักษาอุโบสถ

การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
พุทธมามกะ คือ การรับเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของตนเอง หมายถึง การประกาศยอมรับนับถือพระพุทธศาสนานั่นเอง
พิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะมีมาแต่สมัยพุทธกาลจะแตกต่างกันตามฐานะผู้มาขอนับถือ คือ
-นักบวชนอกศาสนา หรือคฤหัสถ์ผู้ปรารถนาจะบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์จะทรงรับเข้ามาด้วยพระดำรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วจงประพฟติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด”
-ผู้บรรพชาอุปสมบทกับพระสาวก จะบวชด้วยการถึงพระรัตนตรัยเท่านั้น
-ปัจจุบันการถึงพระรัตตรัย ใช้ในกรบรรพชาเป็นสามเณร ส่วนญัตติจตุตถกรรมวาจาใช้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
-คฤหัสถ์ผู้ไม่อยากบวช ก็จะปฏิญาณว่าขอถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ต่อมาในสมัยรัชกาลี่ ๕ การบวชสามเณรเพื่อศึกษาเล่าเรียนได้คลายความนิยมลงไป เนื่องจากเพราะนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศ จึงมีพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะสำหรับเด็กอายุระหว่าง ๑๒-๑๕ ปี จนเป็นที่นิยมทำกันมาจนถึงปัจจุบัน

คำปฏิณาณ
เอสาหํ ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณฺ คจฺฉามิ ธมฺมญฺจ สงฆญฺจ พทฺธมามโกติ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ.
คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนานแล้ว ทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่นับถือ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของตน คือผู้ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า
หมายเหตุ ถ้าว่าพร้อมกันหลายคนให้เปลี่ยนดังนี้  เอสาหํ ถ้าเป็นชายว่า เอเต มยํ หญิงว่า เอตา มยํ คจฺฉามิ เป็น คจฺฉาม ทั้งชายและหญิง เปลี่ยน พุทฺธมามโกติ เป็น พุทฺธมามกาติ, มํ เป็น โน เปลี่ยนคำแปลด้วย คือ
คำว่า ข้าพเจ้า เป็น ข้าพเจ้าทั้งหลาย ทุกที่ฯ
เมื่อปฏิญาณเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะให้โอวาท เสร็จแล้วกล่าวคำอาราธนาศีลและรับศีล ถ้ามีไทยธรรมถวายแล้วกรวดน้ำรับพรเป็นอันเสร็จพิธี
พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
พิธีเวียนเทียน หมายถึง การทำประทักษิณเวียนขวา เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธรูป ปูชนียสถานหรือพระเจดีย์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ชาวไทยเราถือกันมามี ๔ วัน
ในวันสำคัญขาวพุทธจะประกอบพิธีต่างๆ ที่เป็นบุญเป็นกุศล ตามหลักพุทธศาสนาเป็นพิเศษ มีการทำบุญตักบาตร การบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น
วันสำคัญมี ๔ วัน คือ วันวิสาขบูชา , วันอัฏฐมีบูชา,วันมาฆบูชา และ วันอาสาฬบูชา
๑.วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาพระพุทธเจ้าในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ถ้าเป็นอฑิกมาสคือมีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันเพ็ญเดือน ๗ วันวิสาชบูชาเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งทั้ง ๓ อย่างตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ พอดี ชาวพุทธจึงนิยมทำการบูชาในวันนี้เป็นพิเศษ และวันที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก
๒.วันอัฏฐมีบูชา หมายถึง การบูชาพระพุทธเจ้าในวันตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี (ในปีที่เป็นอธิกมาสก็จะเลื่อนไปเป็นเดือน ๗) ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพการบูชาก็มีการปฏิบัติเช่นเดียวกับวันอื่นๆ
๓.วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๓  เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าประกาศโอวาทปาฏิโมกข์ในท่ามกลางพระอริยสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์ การประชุมในวันนั้น เรียกว่า “จตุรงคสันนิบาต” คือ การประชุมประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑.เป็นพระอรหันต์
๒.เป็นเอหิภิกขุ พระพุทธองค์ทรงบวชให้ทั้งสิ้น
๓.มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย
๔.เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๔.วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน อาสาฬหะ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ตรงกับวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศนาครั้งแรก ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ มีผลคือ
-ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม
-ท่านเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา
-พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ เกิดขึ้นครบ
การรักษาอุโบสถ
อุโบสถ แปลว่า การเข้าถึง หมายถึง การเข้าไปอยู่รักษาศีล ๘ อย่างเคร่งครัด เป็นวัตรปฏิบัติของอุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธา ใคร่ฝึกพัฒนาจิตใจของตนให้สูงยิ่งๆขึ้นไป มี ๓ อย่างคือ
๑.ปกติอุโบสถ การรักษาเพียงวันหนึ่งและคืนหนึ่ง
๒.ปฏิชาครอุโบสก คือ การรักษาอย่างพิเศษ ครั้งละ ๒ วัน คือวันรับ ๑ วัน รักษา ๑ วัน และวันส่ง ๑ วัน
๓.ปฏิหาริกปักขอุโบสถ คือการอยู่จำอุโบสถเป็นเลา ๓ เดือนภายในพรรษา หรือ ๔ เดือน ตลอดฤดูฝน เป็นอุโบสถที่กำหนดไว้ประจำแต่ละปี แต่ปัจจุบันเนื่องจากผู้จำอุโบสถมีกิจธุระมาก จึงไม่ค่อยมีผู้ถืออุโบสถชนิดนี้
ผู้ตั้งใจจะรักษาอุโบสถชนิดใด พึงเตรียมตัวให้พร้อมแล้วไปวัดเพื่อสมาทานอุโบสถและรักษา หรือจะเปล่งวาจาอธิษฐานอุโบสถด้วยตนเองก็ได้ว่าดังนี้
อิมัง อัฏฐังคสมันนาคตัง พุทธปัญญัตตัง อุโปสถัง อิมัญจ รัตตึง อิมัญจ ทิวสัง สัมมเทว อภิรักขิตุง สมาทิยามิ”
แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานอุโบสถที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้พร้อมทั้งองค์ ๘ นี้ เพื่อรักษาให้ดี มิให้ขาดมิให้ทำลายตลอดคืนนี้และวันนี้

ที่มา:หนังสือนักธรรมชั้นตรี เรียบเรียงโดย คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


หมวด ทานพิธี
ทานพิธี คือ พิธีถวายทานต่างๆ ผู้ถวายเรียกว่า ทายก สิ่งของที่ถวายเรียกว่า ทานวัตถุ ผู้รับเรียกว่า ปฏิคาหก วัตถุที่ควรให้เป็นทาน มี ๑๐ อย่างคือ
๑.อันนัง                  ได้แก่                      ภัตตาหาร
๒.ปานัง                  ได้แก่                      น้ำ เครื่องดื่ม
๓.วัตถัง                  ได้แก่                      ผ้า เครื่องนุ่งหุ่ม
๔.ยานัง                  ได้แก่                      ยานพาหนะ รวมทั้งค่าพาหนะ
๕.มาลา                  ได้แก่                      มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาต่างๆ
๖.คันโธ                  ได้แก่                      ของหอม หมายถึง ธูปบูชาพระ
๗.วิเลปนัง               ได้แก่                     เครื่องลูปไล้ มีสบู่ เป็นต้น
๘.เสยยัง                 ได้แก่                     เครื่องนอนที่สมควรแก่สมณะ
๙.ตวสถัง                ได้แก่                     ที่อยู่อาศัยมีกุกิเสนาสนะ และอุปกรณ์เสนาสนะ
มี โต๊ะ เตียง เป็นต้น
๑๐.ปทีเปยยัง          ได้แก่                      เครื่องตามประทีป มีตะเกียง ไฟฟ้า เป็นต้น

ทานมี ๒ ประการ คือ
๑.ปาฏิบุคลิกทาน การถวายเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง
๒.สังฆทาน การถวายแก่สงฆ์ให้เป็นของกลาง
การถวายวัตถุทาน ๑๐ สงเคราะห์เข้าในปัจจัย ๔ ของบรรพชิต คือ จีวร, บิณฑบาต, เสนาสน,คิลานเภสัช
กาลเวลาที่ถวายมี ๒ คือ
๑.กาลทาน คือ ถวายตามกาล เช่น กฐิน ผ้าจำนำพรรษา
๒.อกาลทาน คือ ถวายได้ทุกฤดูกาล เช่น ผ้าป่า เสนาสนะ เป็นต้น
คำถวายสังฆทานทั่วไป
อิมานิ มยัง ภันเต ภัตตานิ สปริวารานิ ภิกขุสังฆัสส โอโณชยาม สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สปริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฑรัตตัง หิตาย สุขายฯ
คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ.

ที่มา:หนังสือนักธรรมชั้นตรี
เรียบเรียงโดย คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


หมวด ปกิณกะ
ปกิณกะ คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ได้แก่ พิธีรรรมเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการประกอบพิธีต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มี ๕ เรื่อง คือ
๑.วิธีแสดงความเคารพพระ
การแสดงความเคารพพระสงฆ์ เป็นการแสดงออกถึงความเคารพนบน้อมต่อท่าน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มี ๓ วิธี คือ
๑.อัญชลี การประนมมือ นิยมแสดง เมื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือ เจริญพระพุทธมนต์
๒.วันทา หรือ นมัสการ การไหว้ นิยมแสดงขณะนั่งเก้าอี้หรือยืน
๓.อภิวาท การกราบ นิยมกราบด้วยองค์ ๕ ที่เรียกว่า เบญจางคประดิษฐ์ คือหน้าผาก ๑ ฝ่ามือ ๒
เข่า ๒ จะแสดงความเคารพนี้ขณะนั่งกับพื้น ผู้ชายนั่งท่าเทพบุตร ผู้หญิงนั่งท่าเทพธิดา แล้วกราบให้ องค์ ๕ จรดกับพื้น
๒.วิธีประเคนของพระ
การประเคน คือ การถวายของโดยส่งให้ถึงมือพระ จะนั่ง หรือยืนประเคนแล้วแต่ความเหมาะสม การประเคนมีองค์ ๕ คือ
๑.ของที่ประเคนไม่ใหญ่หรือหนักเกินไป พอปานกลางยกคนเดียวได้
๒.ผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบาส คือ ห่างจากพระประมาณศอกหนึ่ง
๓.น้อมสิ่งของเข้าไปถวายด้วยความเคารพ
๔.การน้อมไปจะส่งให้ด้วยกายหรือของที่เนื่องด้วยกาย เช่น ทัพพีตักถวายก็ได้
๕.พระภิกษุจะรับด้วยมือก็ได้ จะรับด้วยของที่เนื่องด้วยกายก็ได้ เช่น ผ้า หรือ บาตร ก็ได้(ถ้าเป็นผู้หญิง พระภิกษุต้องใช้ผ้ารับประเคน)
๓.วิธีทำหนังสืออาราธนา และทำใบปวารณาปัจจัย ๔
หนังสืออาราธนาหรือฏีกานิมนต์พระ มีจุดมุ่งหมายเพื่ออาราธนาพระสงฆ์ไปประกอบพิธีต่างๆ พร้อมแจ้งรายละเอียดของงานด้วย

ตัวอย่างฏีกานิมนต์พระ
ขออาราธนาพระคุณเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวน...................................................................รูป
เพื่อ........................(เจริญพระพุทธมนต์ หรือสวดพระพุทธมนต์, แสดงพระธรรมเทศนา
รับบิณฑบาต แล้วแต่กรณี)
ในงาน..............................ณ บ้านเลขที่............................ซอย..........................
แขวง/ตำบล....................................เขต/อำเภอ.................................จังหวัด......................
วัน...........................ที่....................เดือน.......................................พ.ศ.........................
ตรงกับวัน  ฯ ค่ำ     ปี.......................................................
หมายเหตุ (มีรถรับ-ส่ง หรือให้นำปิ่นโตมาด้วย)
ลงชื่อ.............................................เจ้าภาพ
วันที่................../...................../.................

ใบปวารณาถวายปัจจัย ๔
ใบปวารณาใช้ในกรณีที่ประสงค์ถวายเงินแก่พระสงฆ์ แต่พระรับเงินและทองไม่ได้ เพราะมีพุทธบัญญัติห้ามไว้ จึงใช้ใบปวารณาแทน
ตัวอย่างใบปวารณาปัจจัย ๔
ข้าพเจ้า ขอถวายจตุปัจจัยอันตวรแก่สมณบริโภค แดพระคุณเจ้า
เป็นเงินจำนวน.................................บาท.....................สตางค์
หากพระคุณเจ้าต้องการสิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว
ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการกของพระคุณเจ้า เทอญ

๔.วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม
อาราธนา คือ การเชื้อเชิญพระสงฆ์ บางครั้งใช้ว่านิมนต์ เช่น นิมนต์พระให้ศีล การอาราธนา ที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ มี ๓ อย่าง คือ อาราธนาศีล, อาราธนาพระปริตร, และ อาราธนาธรรม
วิธีอาราธนา ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะสูง แขกนั่งเก้าอี้ ผู้อาราธนาควรยืนด้านห้าพระสงฆ์ ระหว่างรูปที่ ๓-๔ ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะต่ำ แขกนั่งกับพื้นราบ ควรนั่งคุกเข่าต่อหน้าพระสงฆ์ผู้เป็นประธาน
หลักการอาราธนา
พิธีเจริญพระพุทธมนต์เย็น                              อาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร
พิธีเลี้ยงพระ                                              อาราธนาศีล
พิธีถวายทาน                                            อาราธนาศีล
พิธีเทศน์                                                  อาราธนาศีล อาราธนาธรรม
ถ้าเทศน์ต่อจากเจริญพระพุทธมนต์
ให้อาราธนาพระปริตรก่อน
พอพระเจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว
จึงอาราธนาศีล และ อาราธนาธรรม
ตามลำดับ
พิธีสวดศพ                                               อาราธนาศีล อาราธนาธรรม

คำอาราธนาศีล ๕
มยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขณัตถาย ติสรเณน สห ปัจจสีลานิ ยาจาม
ทุติยัมปิ มยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขณัตถาย ติสรเณน สห ปัญจสีลานิ ยาจาม
ตติยัมปิ มยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขณัตถาย ติสรเณร สห ปัญจสีลานิ ยาจาม
  
คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปฏิพาหาย                   สัพพสัมปัตติสิทธิยา
สัพพทุกขวินาสาย                                 ปริตตัง พรูถ มังคลัง
วิปัตติปฏิพาหาย                   สัพพสัมปัตติสิทธิยา
สัพพภยวินาสาย                   ปริตรตัง พรูถ มังคลัง
วิปัตติปฏิพาหาย                   สัพพสัมปัตติสัทธิยา
สัพพโรควินาสาย                  ปริตรตัง พรูถ มังคลัง

คำอาราธนาธรรม
พรหมา จ โลกาธิปตี สหัมปติ
กตอัญชลี อันธิวรัง อยาจถ
สันตีธ สัตตาปปรชักขชาติกา
เทเสตุ ธัมมัง อนุกัมปิมัง ปชังฯ

๕.วิธีกรวดน้ำ
การกรวดน้ำ มีหลายความหมาย เช่น กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญให้ผู้ตาย. กรวดน้ำยกให้. กรวดน้ำเพื่อตั้งความปรารถนา กรวดน้ำเพื่อตัดขาดจากกัน (กรวดน้ำค่ำขัน)
การกรวดน้ำในที่นี้ประสงค์เอาการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว การกรวดน้ำนิยมเตรียมภารชนะบรรจุน้ำสะอาดไว้ เมื่อถวายทานเสร็จแล้ว พอพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาด้วยบทว่า ยถา วาริวหา..........ให้เริ่มรินน้ำ โดยใช้มือข้างหนึ่งจับภาชนะ มืออีกข้างช่วยประคอง รินน้ำไปเรื่อยจนพระว่าบทยถาถึง มณิโชติรโส ยถา จึงเทน้ำจนหมด แล้วประนมมือรับพรต่อไป
การกรวดน้ำควรมีภาชนะรองน้ำที่กรวด เสร็จแล้วนำไปเทที่พื้นดินสะอาด (ปัจจุบันนิยมเทรดโคนต้นไม้) คำกรวดน้ำแบบสั้น “อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตโย” (ว่า ๓ จบ)
คำแปล บุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิดขอให้ญาติทั้งหลายเป็นสุขๆเถิด.

ที่มา:หนังสือนักธรรมชั้นตรี เรียบเรียงโดย คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์


วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สู่ปีที่ ๗ หลวงพ่อองอาจสงเคราะห์เพื่อนพระภิกษุสงฆ์ และผู้สนใจใฝ่ในธรรมทุกท่าน งานปริวาสกรรมประจำปีพ.ศ.๒๕๕๗ (วันที่ ๒๔ มิ.ย.-๓ ก.ค.)

สู่ปีที่ ๗ หลวงพ่อองอาจสงเคราะห์เพื่อนพระภิกษุสงฆ์ และผู้สนใจใฝ่ในธรรมทุกท่าน

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงภัตตาหารพระเข้าทำวินัยกรรมปริวาส จำนวน ๑๐ วัน ๙ คืน (๑๐ ราตรี) ตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน ถึงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗ พระเข้าปริวาสกรรม ประมาณ ๔๐ รูป
ตามแนวปฏิปทาหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง (พระอาจารย์กรรมจากวัดท่าซุง ๓ รูป)

เจ้าภาพเลี้ยงพระเช้ามื้อละ ๓,๐๐๐ บาท มื้อเพล ๕,๐๐๐ บาท น้ำปานะ ๒,๐๐๐ บาท หรือมีศรัทธา บริจาคทั้งวันเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
ร่วมบุญตามศรัทธา หรือจะนำอาหาร น้ำ มาร่วมก็ได้ทั้งเวลา เช้าและเพล โทร. ๐๘๔ ๙๗๗ ๓๓๓๙

ร่วมบุญทางธนาคารกรุงเทพ สาขา สุวินทวงศ์ ฉะเชิงเทรา ชื่อกองทุนปฎิบัติธรรมวัดวีระโชติธรรมาราม เลขที่ 386-8-01247-1 ออมทรัพย์


ติดตามได้ที่นี่ครับ
https://plus.google.com/u/0/+%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%98%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99/posts

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หลวงพ่อเล่าเรื่อง อดีตของท่านท้าวมหาราชหรือท้าวจตุโลกบาล เรื่องที่ ๙๘ ตายจากมนุษย์ไปเกิดเป็นท่านท้าวมหาราชบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช จาก หนังสือ ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน

หลวงพ่อเล่าเรื่อง อดีตของท่านท้าวมหาราชหรือท้าวจตุโลกบาล

เรื่องที่ ๙๘
ตายจากมนุษย์ไปเกิดเป็นท่านท้าวมหาราชบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช

จาก หนังสือ ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน


"..วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ สองวันที่ผ่านมาร่างกายไม่ดี ใช้กำลังสมถภาวนาไม่ได้ ต้องใช้กำลังวิปัสสนาญาณเป็นตัวยืน อารมณ์ของคนเราถ้าเจริญพระกรรมฐานต้องเข้าใจว่า กรรมฐานที่ทรงตัวจริงๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๑๑ อย่าง และกรรมฐานแบบคิดอีก ๒๙ อย่าง เวลาที่ร่างกายมีกำลังดี ไม่ป่วยไข้ไม่สบายมากจิตจะทรงตัว ใช้กรรมฐานทรงตัวได้ แต่ถ้าจิตเกิดฟุ้งซ่านขึ้นมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บมันกวนมาก มันเพลียมาก ก็ต้องใช้กรรมฐานคิดใช้วิปัสสนาญาณควบ ไม่ต้องการรู้อะไรทั้งหมด

ท้าวจตุโลกบาล
มาวันนี้อารมณ์เริ่มทรงตัวขึ้นมาบ้าง ก็ใช้กำลังทรงตัวได้ แต่ถ้าใช้กำลังทรงตัวแน่นไปอีกก็ไม่เห็นอะไร พอขยับจิตเคลื่อนลงมานิดหนึ่งอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ ก็เห็นท่านท้าวมหาราชนั่งอยู่ข้างๆ ท่านท้าวมหาราชทั้ง ๔ เขาเรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล มีหน้าที่รักษาคุ้มครองชาวมนุษยโลก ถ้าสร้างความดีก็หาทางป้องกันช่วยเหลือ จะส่งเทวดาไปอารักขา ถ้าสร้างความชั่วก็สุดวิสัยที่จะช่วยได้ก็อดใจไว้ และก็มีหน้าที่บันทึกความดีความชั่วของคนทั้งการพูด การคิด การทำทุกอย่าง สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชอยู่กึ่งกลางเขาพระสุเมรุ คนที่ตายแล้วมาเกิดเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชได้ ต้องเคยได้ฌานสมาบัติ แต่เวลาตายไม่ได้เข้าฌานตาย ถ้าขณะที่ตายเข้าฌานตาย ก็จะไปเกิดเป็นพรหม

ท่านท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ

๑) ท่านท้าวเวสสุวัณ คุมด้านทิศเหนือ

๒) ท่านท้าววิรุฬหก คุมด้านทิศใต้

๓) ท่านท้าวธตรฐ คุมด้านทิศตะวันออก

๔) ท่านท้าววิรูปักข์ คุมด้านทิศตะวันตก

ท่านท้าวเวสสุวัณ เป็นท่านท้าวมหาราชคุมด้านทิศเหนือ

ท่านท้าวเวสสุวัณ เป็นท่านท้าวมหาราชคุมด้านทิศเหนือ และเป็นประธานของท้าวมหาราชทั้ง ๔ บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ในเมืองมนุษย์มักจะทำสัญลักษณ์เป็นรูปยักษ์ จะเห็นได้ตามวัด ตามถํ้าจะมีรูปปั้นยักษ์อยู่ทางด้านหน้าทางเข้า ก่อนที่ท่านจะมาเป็นท่านท้าวมหาราชเขตจาตุมหาราช ถอยหลังไป ๑ ชาติ ในตอนต้นเลยทีเดียวที่ยังไม่มีพระพุทธศาสนา มีแต่ศาสนาพราหมณ์ ท่านมีนามว่า "กุเวรพราหมณ์" เป็นชื่อเดิม ต่อมาท่านเป็นกษัตริย์ครองกรุงราชคฤห์มหานครทรงพระนามว่า "พระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์" ท่านเกิดรุ่นราวคราวเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารครองกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งต่อมาทรงออกผนวชบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าทรง พระนามว่า "สมเด็จพระสมณโคดม" ท่านมีพระสหายอีก ๒ องค์คือ พระเจ้าปเสนทิโกศลครองกรุงสาวัตถีกับท่านพันธุรเสนา รวมเป็น ๔ องค์ เป็นเพื่อนรักกันมาก ต่างคนต่างเป็นลูกกษัตริย์ สมัยนั้นไปเรียนหนังสือที่เมืองตักศิลาด้วยกัน

ต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารทรงออกมหาภิเนษกรมณ์ พระเจ้าพิมพิสารทรงคิดว่ามีเรื่องราวกับใคร จึงนิมนต์ให้เข้าประทับในเมือง จะมอบอำนาจให้ครึ่งหนึ่งและสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง ให้เป็นมหาอุปราช พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า "ไม่ได้หนีใคร ทรงเบื่อความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ต้องการแสวงหาโมกขธรรม คือธรรมอันเป็นเครื่องหลุดพ้นจากความตาย และต้องการเอาธรรมนั้นมา สอนคนอื่น"

พระเจ้าพิมพิสารจึงบอกว่า "ถ้าพระองค์ทรงบรรลุเมื่อไร ขอมาโปรดท่านก่อน"

พระพุทธเจ้าก็ทรงรับ เมื่อองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณแล้วก็ทรงสอนคนมาตามทาง จนกระทั่งถึงกรุงราชคฤห์มหานคร พบพระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวาร ก็ทรงเทศน์ พอเทศน์จบปรากฏว่า พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบันพร้อมกับคนจำนวนมาก หลังจากนั้นก็ได้อาราธนาพระพุทธเจ้าเข้าประทับในพระเวฬุวันมหาวิหาร

อานิสงส์ของการถวายทาน
ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นั้น พระเจ้าพิมพิสารไปเฝ้าทุกวัน ได้ถวายทานทุกวัน ฟังเทศน์ทุกวัน จึงมีอานิสงส์ดังนี้คือ

การถวายทาน เป็นปัจจัยให้ได้ทิพยสมบัติ

การถวายพระเวฬุวันมหาวิหาร เป็นเหตุให้ได้วิมานสวยงาม

กำลังความเป็นพระโสดาบันและทรงฌานสมาบัติด้วย เป็นเหตุให้มีกำลัง เมื่อไปเป็นเทวดาก็ทรงอำนาจมาก

เวลาที่ท่านจะตาย ท่านถูกลูกชายคือ พระเจ้าอชาตศัตรู ทรมาน คือพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นกบฏทรยศต่อพ่อ แย่งราชสมบัติแล้วก็ทรมานพ่อ โดยจับขังคุก ต่อมาให้อดข้าว เมื่อท่านยังเดินจงกรมได้ ท่านอยู่ด้วยธรรมปีติ แม้จะอดข้าวก็ไม่ตายผิวพรรณยังผ่องใส ในที่สุดเขาก็เฉือนเท้าไม่ให้เดิน ท่านก็มีความเจ็บปวดมาก แต่จิตใจก็นึกถึงองค์สมเด็จพระจอมไตร ท่านก็มีจิตใจชุ่มชื่น ปวดน่ะปวด แต่ท่านก็ยอมรับนับถือกฎของธรรมดาว่า คนเราที่เกิดมาทุกคน แม้ฐานะจะต่างกัน แต่สภาพจริงๆ มันเหมือนกันคือ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นเหมือนกันหมดทุกคน และก็เดินเข้าไปหาความแก่ มีทุกขเวทนา มีการทรมานจากร่างกาย และในที่สุดก็เป็นคนตาย ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ จะเป็นเศรษฐี คหบดี หรือคนยากจนก็ตาม มีสภาพเหมือนกันไม่มีอะไรแตกต่างกัน

พระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์ท่านเป็นพระโสดาบันขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เวลาตายท่านออกด้วยกำลังของฌาน ๔ จะต้องไปเกิดเป็นพรหม แต่พอจิตแยกออกจากกายแล้ว ท่านมีความรู้สึกด้วยอำนาจกำลังจิตที่เป็นทิพย์ว่า ก่อนที่ท่านจะมาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสารท่านเคยเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชมาก่อน ท่านก็เลยไม่ไปอยู่พรหม มาอยู่ชั้นจาตุมหาราชที่เดิม เมื่อท่านเป็นเทวดาแล้ว ท่านก็ฝึกฝนจนเป็นพระอนาคามี และท่านไม่กลับมาเกิดอีกแล้

ท่านท้าววิรุฬหก ท่านเป็นท้าวมหาราชคุมด้านทิศใต้
ท่านท้าววิรุฬหก ท่านเป็นท่านท้าวมหาราชคุมด้านทิศใต้ บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ในเมืองมนุษย์มักเข้าใจว่า ท่านท้าววิรุฬหกและบริวารของท่านเป็น กุมภัณฑ์

"กุมภะ" แปลว่า "หม้อ" ท่านจึงแสดงรูปร่างอ้วนใหญ่เหมือนกับพ้อมใส่ข้าว ผิวดำปี๋ พุงก็ปลิ้น คอก็สั้น หัวก็โต ฟันก็ขาว เขี้ยวก็โง้งออกจากปาก มีริมฝีปากนูนๆ ตาใหญ่มาก สว่างแวววาวเหมือนกับไฟฉาย มองส่ายไปส่ายมา ทำให้น่ากลัว แต่ความจริงท่านสวยสดงดงามมาก ท่านมาบอกอาตมาว่า ในสมัยเป็นมนุษย์ท่านเป็นคนกรุงเทพฯ อาชีพของท่านเป็นคนมีเงินเดือน เป็นหัวหน้าคนกลุ่มใหญ่มีคนใต้บังคับบัญชานับพันคน ท่านบอกท่านเคยมีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวเหมือนกัน เคยเข้าสมาคมกับขุนนางชั้นสูงและกับคนทุกชั้น เพราะท่านมีเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร ท่านถือว่าทุกคนฐานะไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่กำลังใจเท่านั้น นอกจากนั้นท่านมีความต้องการหนังเหนียวยิงไม่ออก แคล้วคลาดจากอาวุธ และสามารถแสดงฤทธิ์ ท่านมีอาจารย์เป็นพระและเป็นฆราวาสก็มี ถ้ามีความดีเป็นกรณีพิเศษ การทำให้หนังเหนียวต้องใช้คาถา ก่อนที่จะใช้คาถาทั้งหมด ท่านต้องมีความเคารพพระพุทธเจ้าด้วยความจริงใจ เคารพในพระธรรมคำสอน และเคารพในพระสงฆ์ที่เป็นครูบาอาจารย์ หลังจากนั้นต้องทำจิตให้มั่นคงโดยภาวนาให้จิตทรงตัว ก็คือ จิตเป็นสมาธินั่นเอง ถ้าจิตมีสมาธิสูง กำลังอานุภาพที่ต้องการก็จะมีอานุภาพมาก ถ้ากำลังสมาธิตํ่าของที่เรียนมาก็มีอานุภาพตํ่า การท่องคาถาอาคม การปลุกตัว การปลุกของ ต้องทำทุกวันเพื่อความมั่นคง จิตต้องเข้าถึงฌานสมาบัติ แต่เวลาที่ท่านตาย ท่านไม่ได้เข้าฌานตาย

เมื่อตายแล้วท่านไปเกิดเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราช ต่อมาก็ขึ้นเป็น เทวดาชั้นอินทกะ (คำว่า "อินทกะ" แปลว่า "ผู้เป็นใหญ่" คือเป็นรองท่านท้าวมหาราช อินทกะนี้มีได้ทิศละพันองค์ พร้อมที่จะเป็นท้าวมหาราชได้ตามความสามารถและวาสนาบารมี ในเมื่อท่านท้าวมหาราชไปจากชั้นนี้ คือจากชั้นจาตุมหาราชไปเกิดเป็นเทวดาชั้นสูงบ้าง หรือว่าไปเป็นพรหมบ้าง หรือมาเกิดเป็นมนุษย์ก็ตาม) จากอินทกะท่านก็เป็นท้าวมหาราช คือท่านท้าววิรุฬหกในปัจจุบันนี้

ท่านท้าวธตรฐ ท่านเป็นท้าวมหาราชคุมด้านทิศตะวันออก
วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ เห็นท่านท้าวมหาราชมานั่งอยู่ องค์หนึ่งมาตัวสูงเท่ายอดตาล จึงหันไปถามว่า "ใคร" ท่านท้าววิรุฬหกตอบว่า "ท่านธตรฐครับ" พอท่านเข้ามาใกล้ก็เลยถามว่า "ทำไมสูงเหมือนเปรตแบบนี้ล่ะ" ท่านตอบว่า "อย่างนี้เขาเรียกสูงแบบเทวดา ไม่ใช่สูงแบบเปรต" ถามท่านท้าวธตรฐว่า "อดีตของท่านเคยเป็นอะไรมาตอนเป็นมนุษย์" ท่านตอบว่า "อดีตผมเป็นพระราชาเมืองพาราณสีครับ" ก็เลยถามท่านว่า "เวลานั้นไม่มีพระพุทธศาสนาเป็นเทวดาได้อย่างไร"

ท่านตอบว่า "เทวดาหรือพรหมไม่จำเป็นต้องนับถือพระพุทธศาสนาเสมอไป พราหมณ์ก็เป็นเทวดาเป็นพรหมได้" เวลานี้ท่านเป็นพระอนาคามี เป็นพระอริยเจ้าเบื้องสูง ท่านไม่กลับลงมาเกิดอีกแล้ว

ท่านท้าววิรูปักษ์ ท่านเป็นท้าวมหาราชคุมด้านทิศตะวันตก
ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ วันเดียวกันนั้นอาตมาได้หันไปถาม ท่านวิรูปักษ์ ว่า "อดีตท่านเป็นอะไร" ท่านตอบว่า "อดีตผมอยู่ปักษ์ใต้ ประเทศไทยนี่เอง เป็นผู้ชายไทย ฐานะสูงมากสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้ฌานสมาบัติแต่เวลาตายไม่ได้เข้าฌานตาย ตายแล้วไปเป็นอินทกะเลย เมื่อท่านวิรูปักษ์องค์เก่าขึ้นไปเป็นพรหม ท่านก็ขึ้นเป็นแทน ท่านเก่งมาก

เป็นอันว่าก็ได้ทราบประวัติของท่านท้าวมหาราชทั้ง ๔ แล้วว่าใครเป็นใคร ทำให้ทราบว่าการเป็นเทวดาก็ไม่หนักสำหรับพวกเรา การเป็นพรหมก็ไม่หนัก การไปพระนิพพานก็ไม่หนัก การไปนรกก็ไม่หนัก ชอบทางไหนก็ไปได้ทั้งนั้น.."

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

สวัสดีปีใหม่ไทย สุขสันต์วันสงกรานต์ ขอเชิญเที่ยวงานสงกรานต์ ปฏิบัติธรรม วัดวีระโชติฯ เสริมบารมีแก่ท่านและครอบครัว แก้ปีชง ๒๕๕๗

สวัสดีปีใหม่ไทย สุขสันต์วันสงกรานต์ 
ขอเชิญเที่ยวงานสงกรานต์ ปฏิบัติธรรม วัดวีระโชติฯ เสริมบารมีแก่ท่านและครอบครัว แก้ปีชง
ปิดทองลูกนิมิต ไหว้พระประธาน ๕ พี่น้อง
(หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อโต วัดบางพลี หลวงพ่อวัดบ้านแหลม 
หลวงพ่อวัดไร่ขิง หลวงพ่อวัดเขาตะเครา)
รอดหลวงพ่อโต(เงินไหลมาเทมา) เสริมดวงและสะเดาะเคราะห์
กราบไหว้หลวงพ่อทองคำ(จำลอง)วัดไตรมิตร
กราบไหว้หุ่นขี้ผึ้งเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ
สรงน้ำครูบาอาจารย์ชื่อดังอาทิ หลวงปู่ทวด หลวงปู่โต เป็นต้น
สักการะหุ่นขึ้ผึ้งรูปเหมือนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗

กำหนดการ
งานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๗
ณ วัดวีระโชติฯ เมือง ฉะเชิงเทรา
วันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗
วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๗
เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารพระภิกษุสงฆ์ สามเณร
เวลา ๑๒.๐๐ น. สรงน้ำพระ(สรงที่มือ)

วันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๗
เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารพระภิกษุสงฆ์ สามเณร
เวลา ๑๒.๐๐ น. สรงน้ำพระ(สรงที่มือ)

วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๗
เวลา ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารพระภิกษุสงฆ์ สามเณร
เวลา ๑๒.๐๐ น. พระสงฆ์สวดมาติกา - บังสุกุล
เวลา ๑๓.๐๙ น. พิธีเททองหล่อนำฤกษ์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ขนาด ๕ นิ้ว จำนวน ๕๖ องค์ โดยหลวงพ่อองอาจ
เวลา ๑๓.๓๐ น. สรงน้ำพระ(สรงที่องค์)

หมายเหตุ ผู้ที่มาร่วมบุญสามารถ นำอัฐิบรรพบุรุษมาประกอบพิธีได้ที่วัด ซึ่งทางวัดได้จัดเตรียมไว้ให้แล้ว

โทรสอบถามรายละเอียดได้ที่ 089-748-6427,084977 3339, 097-922-4888