ศาสนพิธี คือ
พิธีทางศาสนา
พิธี คือ แบบอย่าง, แบบแผนที่พึ่งปฏิบัติ
ศาสนา คือ คำสั่งสอน ลัทธิความเชื่อ ในที่นี้ หมายถึง พระพุทธศาสนา
ศาสนาพิธีเกิดขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าประกาศพระศาสนาแล้ว ต่อมาพระองค์ได้ประกาศหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า หัวใจพระพุทธศาสนา ด้วยการแสดง “โอวาทปาฎิโมกข์”
ในวันเพ็ญเดือน ๓ หรือ มาฆปุรมี สำหรับเป็นหลักปฏิบัติของชาวพุทธไว้ ๓ ประการ คือ
๑. สพฺพปาปสฺส
อกรณํ การไม่ทำบาปทั้งปวง
๒. กุสลสฺสูปสมฺปทา การทำความดี
๓. สจิตฺตปริโยทปนํ การทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใส
ตามหลักการนี้ ชาวพุทธเมื่อไม่ทำชั่ว ต้องทำดีด้วย
ไม่ใช่อยู่เฉยๆ
และที่พิเศษกว่าศาสนาอื่นคือพัฒนาจิตของตนให้สูงขึ้นจนถึงระดับบริสุทธิ์
สามารถละกิเลสทั้งปวงได้เด็ดขาด
จึงชื่อว่าบรรลุเป้าหมายในพระพุทธศาสนา
ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสว่านิพพานสูงสุด
จากหลักการข้างต้น
พระองค์จึงตรัสวิธีทำความดีไว้เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ คือหลักการทำบุญ ๓
ประการ คือ
๑. ทาน แปลว่า การให้
หมายถึงการสละสิ่งของให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๒. ศีล แปลว่า ปกติ
หมายถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ไม่ผิดข้อบัญญัติ
๓. ภาวนา แปลว่า อบรม, เจริญ, ทำให้มี หมายถึงการอบรมจิตให้สูงขึ้น
หลักการทำบุญทั้ง ๓ นี้
จึงทำให้เกิดพิธีกรรม เพื่อจะได้เป็นแบบแผนเดียวกัน เรียกว่า
ศาสนพิธี แบ่งเป็น ๔
หมวด คือ
๑. กุศลพิธี ได้แก่
พิธีบำเพ็ญกุศล
๒. บุญพิธี ได้แก่ พิธีทำบุญ
๓. ทานพิธี ได้แก่ พิธีถวายทาน
๔. ปกิณกพิธี ได้แก่ พิธีเบ็ดเตล็ด
หลักธรรมเปรียบเหมือนต้นไม้ ศาสนาพิธีเปรียบเหมือนเปลือกกระพี้ของต้นไม้
ถ้าต้นไม้ไม่มีเปลือกและกระพี้ คงไม่เจริญงอกงามและเฉาตายในที่สุด ฉะนั้น
ศาสนาพิธีจึงช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาได้ เพราะเป็นสิ่งที่ชักจูงให้คนเข้าถึงแก่นธรรมจริงๆ
ที่มา:หนังสือนักธรรมชั้นตรี เรียบเรียงโดย
คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
หมวด กุศลพิธี
กุศล แปลว่า
ฉลาด,
สิ่งที่ตัดความชั่ว หมายถึงสิ่งที่ดีงาม ถูกต้องชอบธรรม กุศลพิธีจึงหมายถึงพิธีกรรมที่ฉลาดสามารถตัดความชั่ว
และอบรมตนเองให้ดีงามตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้
กุศลพิธี
พิธีบำเพ็ญกุศลในศาสนพิธีเล่ม ๑ นี้ มี ๓ เรื่อง คือ
๑. พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
๒.
พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๓.
พิธีรักษาอุโบสถ
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
พุทธมามกะ คือ การรับเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของตนเอง หมายถึง
การประกาศยอมรับนับถือพระพุทธศาสนานั่นเอง
พิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะมีมาแต่สมัยพุทธกาลจะแตกต่างกันตามฐานะผู้มาขอนับถือ
คือ
-นักบวชนอกศาสนา หรือคฤหัสถ์ผู้ปรารถนาจะบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
พระพุทธองค์จะทรงรับเข้ามาด้วยพระดำรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด
ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วจงประพฟติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด”
-ผู้บรรพชาอุปสมบทกับพระสาวก จะบวชด้วยการถึงพระรัตนตรัยเท่านั้น
-ปัจจุบันการถึงพระรัตตรัย ใช้ในกรบรรพชาเป็นสามเณร
ส่วนญัตติจตุตถกรรมวาจาใช้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
-คฤหัสถ์ผู้ไม่อยากบวช
ก็จะปฏิญาณว่าขอถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ต่อมาในสมัยรัชกาลี่
๕ การบวชสามเณรเพื่อศึกษาเล่าเรียนได้คลายความนิยมลงไป
เนื่องจากเพราะนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนต่างประเทศ
จึงมีพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะสำหรับเด็กอายุระหว่าง ๑๒-๑๕ ปี
จนเป็นที่นิยมทำกันมาจนถึงปัจจุบัน
คำปฏิณาณ
เอสาหํ
ภนฺเต สุจิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณฺ คจฺฉามิ ธมฺมญฺจ สงฆญฺจ พทฺธมามโกติ มํ
สงฺโฆ ธาเรตุ.
คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
แม้ปรินิพพานนานแล้ว ทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่นับถือ
ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของตน
คือผู้ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า
หมายเหตุ ถ้าว่าพร้อมกันหลายคนให้เปลี่ยนดังนี้
เอสาหํ ถ้าเป็นชายว่า เอเต มยํ หญิงว่า เอตา มยํ คจฺฉามิ เป็น คจฺฉาม
ทั้งชายและหญิง เปลี่ยน พุทฺธมามโกติ เป็น พุทฺธมามกาติ, มํ
เป็น โน เปลี่ยนคำแปลด้วย คือ
คำว่า
ข้าพเจ้า เป็น ข้าพเจ้าทั้งหลาย ทุกที่ฯ
เมื่อปฏิญาณเสร็จแล้ว
พระสงฆ์จะให้โอวาท เสร็จแล้วกล่าวคำอาราธนาศีลและรับศีล
ถ้ามีไทยธรรมถวายแล้วกรวดน้ำรับพรเป็นอันเสร็จพิธี
พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
พิธีเวียนเทียน
หมายถึง การทำประทักษิณเวียนขวา
เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธรูป
ปูชนียสถานหรือพระเจดีย์ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ชาวไทยเราถือกันมามี ๔ วัน
ในวันสำคัญขาวพุทธจะประกอบพิธีต่างๆ
ที่เป็นบุญเป็นกุศล ตามหลักพุทธศาสนาเป็นพิเศษ มีการทำบุญตักบาตร
การบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น
วันสำคัญมี
๔ วัน คือ วันวิสาขบูชา ,
วันอัฏฐมีบูชา,วันมาฆบูชา และ วันอาสาฬบูชา
๑.วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาพระพุทธเจ้าในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน
๖ ถ้าเป็นอฑิกมาสคือมีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันเพ็ญเดือน ๗
วันวิสาชบูชาเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งทั้ง
๓ อย่างตรงกับวันเพ็ญเดือน ๖ พอดี ชาวพุทธจึงนิยมทำการบูชาในวันนี้เป็นพิเศษ
และวันที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒ องค์การสหประชาชาติ
ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลก
๒.วันอัฏฐมีบูชา หมายถึง การบูชาพระพุทธเจ้าในวันตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี
(ในปีที่เป็นอธิกมาสก็จะเลื่อนไปเป็นเดือน ๗) ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพการบูชาก็มีการปฏิบัติเช่นเดียวกับวันอื่นๆ
๓.วันมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๓
เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าประกาศโอวาทปาฏิโมกข์ในท่ามกลางพระอริยสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์ การประชุมในวันนั้น เรียกว่า “จตุรงคสันนิบาต” คือ การประชุมประกอบด้วยองค์
๔ คือ
๑.เป็นพระอรหันต์
๒.เป็นเอหิภิกขุ
พระพุทธองค์ทรงบวชให้ทั้งสิ้น
๓.มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย
๔.เป็นวันขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๔.วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน อาสาฬหะ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
ตรงกับวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศนาครั้งแรก ชื่อว่า
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ มีผลคือ
-ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม
-ท่านเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา
-พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ, พระธรรม, พระสงฆ์ เกิดขึ้นครบ
การรักษาอุโบสถ
อุโบสถ แปลว่า การเข้าถึง หมายถึง การเข้าไปอยู่รักษาศีล ๘ อย่างเคร่งครัด
เป็นวัตรปฏิบัติของอุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธา
ใคร่ฝึกพัฒนาจิตใจของตนให้สูงยิ่งๆขึ้นไป มี ๓ อย่างคือ
๑.ปกติอุโบสถ
การรักษาเพียงวันหนึ่งและคืนหนึ่ง
๒.ปฏิชาครอุโบสก
คือ การรักษาอย่างพิเศษ ครั้งละ ๒ วัน คือวันรับ ๑ วัน รักษา ๑ วัน และวันส่ง ๑
วัน
๓.ปฏิหาริกปักขอุโบสถ
คือการอยู่จำอุโบสถเป็นเลา ๓ เดือนภายในพรรษา หรือ ๔ เดือน ตลอดฤดูฝน
เป็นอุโบสถที่กำหนดไว้ประจำแต่ละปี แต่ปัจจุบันเนื่องจากผู้จำอุโบสถมีกิจธุระมาก
จึงไม่ค่อยมีผู้ถืออุโบสถชนิดนี้
ผู้ตั้งใจจะรักษาอุโบสถชนิดใด
พึงเตรียมตัวให้พร้อมแล้วไปวัดเพื่อสมาทานอุโบสถและรักษา
หรือจะเปล่งวาจาอธิษฐานอุโบสถด้วยตนเองก็ได้ว่าดังนี้
“อิมัง อัฏฐังคสมันนาคตัง พุทธปัญญัตตัง อุโปสถัง อิมัญจ รัตตึง อิมัญจ
ทิวสัง สัมมเทว อภิรักขิตุง สมาทิยามิ”
แปลว่า
ข้าพเจ้าขอสมาทานอุโบสถที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้พร้อมทั้งองค์ ๘ นี้
เพื่อรักษาให้ดี มิให้ขาดมิให้ทำลายตลอดคืนนี้และวันนี้
ที่มา:หนังสือนักธรรมชั้นตรี เรียบเรียงโดย
คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์
หมวด ทานพิธี
ทานพิธี คือ พิธีถวายทานต่างๆ ผู้ถวายเรียกว่า ทายก สิ่งของที่ถวายเรียกว่า
ทานวัตถุ ผู้รับเรียกว่า ปฏิคาหก วัตถุที่ควรให้เป็นทาน มี ๑๐ อย่างคือ
๑.อันนัง
ได้แก่
ภัตตาหาร
๒.ปานัง
ได้แก่
น้ำ เครื่องดื่ม
๓.วัตถัง
ได้แก่
ผ้า เครื่องนุ่งหุ่ม
๔.ยานัง
ได้แก่
ยานพาหนะ รวมทั้งค่าพาหนะ
๕.มาลา
ได้แก่
มาลัยและดอกไม้เครื่องบูชาต่างๆ
๖.คันโธ
ได้แก่
ของหอม หมายถึง ธูปบูชาพระ
๗.วิเลปนัง
ได้แก่
เครื่องลูปไล้ มีสบู่ เป็นต้น
๘.เสยยัง
ได้แก่
เครื่องนอนที่สมควรแก่สมณะ
๙.ตวสถัง
ได้แก่
ที่อยู่อาศัยมีกุกิเสนาสนะ และอุปกรณ์เสนาสนะ
มี
โต๊ะ เตียง เป็นต้น
๑๐.ปทีเปยยัง
ได้แก่
เครื่องตามประทีป มีตะเกียง ไฟฟ้า เป็นต้น
ทานมี ๒ ประการ คือ
๑.ปาฏิบุคลิกทาน
การถวายเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง
๒.สังฆทาน
การถวายแก่สงฆ์ให้เป็นของกลาง
การถวายวัตถุทาน
๑๐ สงเคราะห์เข้าในปัจจัย ๔ ของบรรพชิต คือ จีวร, บิณฑบาต,
เสนาสน,คิลานเภสัช
กาลเวลาที่ถวายมี ๒ คือ
๑.กาลทาน
คือ ถวายตามกาล เช่น กฐิน ผ้าจำนำพรรษา
๒.อกาลทาน
คือ ถวายได้ทุกฤดูกาล เช่น ผ้าป่า เสนาสนะ เป็นต้น
คำถวายสังฆทานทั่วไป
อิมานิ
มยัง ภันเต ภัตตานิ สปริวารานิ ภิกขุสังฆัสส โอโณชยาม สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ
อิมานิ ภัตตานิ สปริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฑรัตตัง หิตาย สุขายฯ
คำแปล ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้
แด่พระภิกษุสงฆ์ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้
ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ.
ที่มา:หนังสือนักธรรมชั้นตรี
เรียบเรียงโดย คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง
เพียรเพื่อพุทธศาสน์
หมวด ปกิณกะ
ปกิณกะ คือ
หมวดเบ็ดเตล็ด ได้แก่ พิธีรรรมเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการประกอบพิธีต่างๆ
ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น มี ๕ เรื่อง คือ
๑.วิธีแสดงความเคารพพระ
การแสดงความเคารพพระสงฆ์
เป็นการแสดงออกถึงความเคารพนบน้อมต่อท่าน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มี ๓
วิธี คือ
๑.อัญชลี
การประนมมือ นิยมแสดง เมื่อฟังพระธรรมเทศนา หรือ เจริญพระพุทธมนต์
๒.วันทา
หรือ นมัสการ การไหว้ นิยมแสดงขณะนั่งเก้าอี้หรือยืน
๓.อภิวาท
การกราบ นิยมกราบด้วยองค์ ๕ ที่เรียกว่า เบญจางคประดิษฐ์ คือหน้าผาก ๑ ฝ่ามือ ๒
เข่า
๒ จะแสดงความเคารพนี้ขณะนั่งกับพื้น ผู้ชายนั่งท่าเทพบุตร ผู้หญิงนั่งท่าเทพธิดา
แล้วกราบให้ องค์ ๕ จรดกับพื้น
๒.วิธีประเคนของพระ
การประเคน
คือ การถวายของโดยส่งให้ถึงมือพระ จะนั่ง หรือยืนประเคนแล้วแต่ความเหมาะสม การประเคนมีองค์
๕ คือ
๑.ของที่ประเคนไม่ใหญ่หรือหนักเกินไป
พอปานกลางยกคนเดียวได้
๒.ผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบาส
คือ ห่างจากพระประมาณศอกหนึ่ง
๓.น้อมสิ่งของเข้าไปถวายด้วยความเคารพ
๔.การน้อมไปจะส่งให้ด้วยกายหรือของที่เนื่องด้วยกาย
เช่น ทัพพีตักถวายก็ได้
๕.พระภิกษุจะรับด้วยมือก็ได้
จะรับด้วยของที่เนื่องด้วยกายก็ได้ เช่น ผ้า หรือ บาตร ก็ได้(ถ้าเป็นผู้หญิง
พระภิกษุต้องใช้ผ้ารับประเคน)
๓.วิธีทำหนังสืออาราธนา
และทำใบปวารณาปัจจัย ๔
หนังสืออาราธนาหรือฏีกานิมนต์พระ
มีจุดมุ่งหมายเพื่ออาราธนาพระสงฆ์ไปประกอบพิธีต่างๆ พร้อมแจ้งรายละเอียดของงานด้วย
ตัวอย่างฏีกานิมนต์พระ
ขออาราธนาพระคุณเจ้า
พร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวน...................................................................รูป
เพื่อ........................(เจริญพระพุทธมนต์
หรือสวดพระพุทธมนต์,
แสดงพระธรรมเทศนา
รับบิณฑบาต
แล้วแต่กรณี)
ในงาน..............................ณ
บ้านเลขที่............................ซอย..........................
แขวง/ตำบล....................................เขต/อำเภอ.................................จังหวัด......................
วัน...........................ที่....................เดือน.......................................พ.ศ.........................
ตรงกับวัน ฯ ค่ำ ปี.......................................................
หมายเหตุ
(มีรถรับ-ส่ง หรือให้นำปิ่นโตมาด้วย)
ลงชื่อ.............................................เจ้าภาพ
วันที่................../...................../.................
ใบปวารณาถวายปัจจัย ๔
ใบปวารณาใช้ในกรณีที่ประสงค์ถวายเงินแก่พระสงฆ์
แต่พระรับเงินและทองไม่ได้ เพราะมีพุทธบัญญัติห้ามไว้ จึงใช้ใบปวารณาแทน
ตัวอย่างใบปวารณาปัจจัย
๔
ข้าพเจ้า
ขอถวายจตุปัจจัยอันตวรแก่สมณบริโภค แดพระคุณเจ้า
เป็นเงินจำนวน.................................บาท.....................สตางค์
หากพระคุณเจ้าต้องการสิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภคแล้ว
ขอได้โปรดเรียกร้องจากกัปปิยการกของพระคุณเจ้า
เทอญ
๔.วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม
อาราธนา คือ
การเชื้อเชิญพระสงฆ์ บางครั้งใช้ว่านิมนต์ เช่น นิมนต์พระให้ศีล การอาราธนา
ที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ มี ๓ อย่าง คือ อาราธนาศีล, อาราธนาพระปริตร, และ อาราธนาธรรม
วิธีอาราธนา ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะสูง แขกนั่งเก้าอี้ ผู้อาราธนาควรยืนด้านห้าพระสงฆ์
ระหว่างรูปที่ ๓-๔ ถ้าพระสงฆ์นั่งอาสนะต่ำ แขกนั่งกับพื้นราบ
ควรนั่งคุกเข่าต่อหน้าพระสงฆ์ผู้เป็นประธาน
หลักการอาราธนา
พิธีเจริญพระพุทธมนต์เย็น
อาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร
พิธีเลี้ยงพระ
อาราธนาศีล
พิธีถวายทาน
อาราธนาศีล
พิธีเทศน์
อาราธนาศีล อาราธนาธรรม
ถ้าเทศน์ต่อจากเจริญพระพุทธมนต์
ให้อาราธนาพระปริตรก่อน
พอพระเจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว
จึงอาราธนาศีล
และ อาราธนาธรรม
ตามลำดับ
พิธีสวดศพ
อาราธนาศีล อาราธนาธรรม
คำอาราธนาศีล ๕
มยัง
ภันเต วิสุง วิสุง รักขณัตถาย ติสรเณน สห ปัจจสีลานิ ยาจาม
ทุติยัมปิ
มยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขณัตถาย ติสรเณน สห ปัญจสีลานิ ยาจาม
ตติยัมปิ
มยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขณัตถาย ติสรเณร สห ปัญจสีลานิ ยาจาม
คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปฏิพาหาย
สัพพสัมปัตติสิทธิยา
สัพพทุกขวินาสาย
ปริตตัง พรูถ มังคลัง
วิปัตติปฏิพาหาย
สัพพสัมปัตติสิทธิยา
สัพพภยวินาสาย ปริตรตัง พรูถ มังคลัง
วิปัตติปฏิพาหาย
สัพพสัมปัตติสัทธิยา
สัพพโรควินาสาย ปริตรตัง พรูถ มังคลัง
คำอาราธนาธรรม
พรหมา
จ โลกาธิปตี สหัมปติ
กตอัญชลี
อันธิวรัง อยาจถ
สันตีธ
สัตตาปปรชักขชาติกา
เทเสตุ
ธัมมัง อนุกัมปิมัง ปชังฯ
๕.วิธีกรวดน้ำ
การกรวดน้ำ
มีหลายความหมาย เช่น กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญให้ผู้ตาย. กรวดน้ำยกให้.
กรวดน้ำเพื่อตั้งความปรารถนา กรวดน้ำเพื่อตัดขาดจากกัน (กรวดน้ำค่ำขัน)
การกรวดน้ำในที่นี้ประสงค์เอาการกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว
การกรวดน้ำนิยมเตรียมภารชนะบรรจุน้ำสะอาดไว้ เมื่อถวายทานเสร็จแล้ว
พอพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาด้วยบทว่า ยถา วาริวหา..........ให้เริ่มรินน้ำ
โดยใช้มือข้างหนึ่งจับภาชนะ มืออีกข้างช่วยประคอง รินน้ำไปเรื่อยจนพระว่าบทยถาถึง
มณิโชติรโส ยถา จึงเทน้ำจนหมด แล้วประนมมือรับพรต่อไป
การกรวดน้ำควรมีภาชนะรองน้ำที่กรวด
เสร็จแล้วนำไปเทที่พื้นดินสะอาด (ปัจจุบันนิยมเทรดโคนต้นไม้) คำกรวดน้ำแบบสั้น
“อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตโย” (ว่า ๓ จบ)
คำแปล
บุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าเถิดขอให้ญาติทั้งหลายเป็นสุขๆเถิด.
ที่มา:หนังสือนักธรรมชั้นตรี เรียบเรียงโดย
คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์