อานิสงส์ของการอนุโมทนา
โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ปัตตานุโมทนามัย กับ ไวยาวัจจมัย
ผู้ถาม : “ มีคนฝากให้มาถามหลวงพ่อว่า พ่อแม่ไม่ค่อยทำบุญ แต่เป็นคนดี คนซื่อ ถ้าบุตรหลานจะทำบุญให้แล้วจะใส่ชื่อของท่านด้วย อยากทราบว่า ท่านจะได้หรือไม่ครับ...?”
หลวงพ่อ : “เขาโมทนาด้วยหรือเปล่า ถ้าลูกบอกไปว่า “พ่อ(หรือแม่) ฉันทำบุญให้แล้ว” ถ้าท่านยินดีด้วย ท่านได้แน่นอน ถ้าบอก “กูไม่รู้โว้ย” ด่าตะเพิด อันนี้ไม่ได้แน่”
ผู้ถาม : “อย่างเวลาที่เลิกพระกรรมฐานแล้ว ก็มีคนไปถวายสังฆทานกับหลวงพ่อ แต่หนูไม่มีของก็ยกมือไหว้อนุโมทนาด้วยอย่างนี้จะมีอานิสงส์ไหมคะ...?”
หลวงพ่อ : อานิสงส์ที่พึงได้ก็คือ ปัตตานุโมทนามัย เป็นผลกำไรจากการเจริญพระกรรมฐานไม่ต้องลงทุน ถ้าตั้งใจจริงถึง 90 %เจ้าของได้ 100 เราได้ครั้งละ 90 ผ่านไป 10 คน เราก็ได้ 900 มากกว่าเจ้าของ เอ้า!!เยอะจริงๆ มันทำบารมีให้เต็มเร็ว เร็วมาก การโมทนา เขาแปลว่า ยินดีด้วย ต้องยินดีด้วยความจริงใจนะ สักแต่ว่าสาธุ มันไม่ได้อะไร คำว่า “สาธุ” ไม่จำเป็นต้องออกเสียงไม่จำเป็นต้องยกมือไหว้ก็ได้ เอาใจยินดีใช้ได้เลย และการยินดีมันก็คือ มุทิตา เป็นตัวหนึ่งในพรหมวิหาร 4 นี่บุญตัวใหญ่นะที่พระพุทธเจ้าบอกว่า “จิตเต สังกิลิฏเฐ ทุคคติ ปาฏิกังขา” ถ้าก่อนตายจิตเศร้าหมอง ก็ไปอบายภูมิ มี นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น “จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา ” ถ้าก่อนตายจิตผ่องใส ก็ไปสู่สุคติ หมายถึงสวรรค์ก็ได้ พรหมก็ได้ นิพพานก็ได้ สุดแล้วแต่กำลังใจของเราและการโมทนานี่ทำให้ชุ่มชื่นใจ ใช่ไหม..เขาทำดีเรายินดีด้วย ยินดีกับความดีของเขา ไม่ช้าเราก็ดีตามเขา เพราะเราเห็นเขาดี
เราก็ชอบดีใช่ไหม... แต่อย่าไปชอบดีเฉยๆนะต้องทำดีด้วยนะ ทำบุญด้วยตนเองบ้าง”
เราก็ชอบดีใช่ไหม... แต่อย่าไปชอบดีเฉยๆนะต้องทำดีด้วยนะ ทำบุญด้วยตนเองบ้าง”
ผู้ถาม : “หลวงพ่อครับ ปัตตานุโมทนามัน กับ ไวยาวัจจมัย นี่เหมือนกันไหมครับ....?”
หลวงพ่อ : “ไวยาวัจจมัย เขาแปลว่า ขวนขวายในกิจการเช่น เขาส่งสตางค์มาทำบุญ เราช่วยส่งต่อ หรือพวกที่ช่วยขนสังฆทานนี่ ก็พลอยได้บุญไปด้วย มีอานิสงส์ต่ำกว่าบวชเณรนิดหนึ่ง ไม่เบานะ แต่ปัตตานุโมทนามัย ไม่ต้องลงทุน แต่พวกถือมานี่มันต้องออกแรงนะ พวกโมทนานี่ไม่ต้องออกแรงเลย แต่อย่าลืมนะ เอาแค่โมทนาอย่างเดียวไม่ดีนะ ต้องอาศัยคนต้นตลอด ถ้าไม่ได้อาศัยคนต้นจริงๆ จะสำเร็จมรรคผลไม่ได้
เช่นเดียวกับพระนางพิมพา ต้องอาศัยพระพุทธเจ้าตลอด”
เช่นเดียวกับพระนางพิมพา ต้องอาศัยพระพุทธเจ้าตลอด”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น